พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง - พระบรมธาตุแบบลังกา

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง -  พระบรมธาตุแบบลังกา

เสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ..คลิกตรงรูป อ่านพระประวัติโดยย่อ..

Monday 24 February 2014


"พระตรีมูรติ"
มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งจักรวาล ประทานความสมหวังทุกประการ


พระตรีมูรติ ที่อยู่หน้า Central World นั้น
แท้จริงแล้วไม่ใช่พระตรีมูรติ
แต่เป็น พระปัญจมุขี (พระศิวะ 5 เศียร)
ผู้สร้าง ผู้บวงสรวง และผู้จัดตั้งนั้นเข้าใจผิด จัดสร้างอย่างผิด
เพราะไม่มีพระตรีมูรติในตำราหรือคำภีร์ไหนที่มี 5 เศียรเลย
พระตรีมูรติที่ถูกต้องจะต้องมี 3 เศียรเท่านั้น จึงขอให้ผู้ศรัทธาเข้าใจ ณ ที่นี้ด้วย
คณะพราหมณ์ นักบวชและบัณฑิตชาวอินเดีย นักโบราณศาสตร์ ผู้รู้จริงในเรื่องตำนานเทวปกรณ์จำนวนมากมายได้ยืนยันเช่นเดียวกัน
การไหว้สักการะเทวรูป พระศิวะ 5 เศียร แต่ดันไปขอพรหรือระลึกถึง พระตรีมูรติ นั้น ทำให้การขอพรไม่ได้ผลเต็มที่ตามคาดหวัง
วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องคือ ให้ไหว้เทวรูปหน้าเซ็นทรัลเวิลด์นั้นๆแล้วสวดมนต์ขอพรถึง พระศิวะมหาเทพ จะถูกต้องที่สุด

"พระตรีมูรติ" นั้นเป็นถึงเทพเจ้าที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะมีศักดิ์สูงสุดในศาสนาพราหมณ์
เนื่องจากเป็นการรวมกันของมหาเทพที่ยิ่งใหญ่ถึง 3 พระองค์ด้วยกัน คือ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ
ลำพังมหาเทพทั้ง 3 นี้ แต่ละพระองค์ ก็ประทานพรแก่ผู้ทำความดีได้ ทุกประการ อยู่แล้ว
การที่ทั้ง 3 ท่านได้มารวมพระวรกายกันเป็นหนึ่งเดียว ก็ยิ่งมีอานุภาพประทานพรได้กว้างและลึกยิ่งขึ้น
ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจผิดพากันกล่าวกันว่า "พระตรีมูรติ" เป็นเพียงเทพเจ้าผู้ประทานความสมหวังในด้าน "ความรัก" เท่านั้น
ถือเป็นการไม่ให้เกียรติ และเป็นการลบหลู่ ดูถูกเทวานุภาพของ "พระตรีมูรติ" เลยทีเดียว
แท้จริงแล้วพระองค์มีพลังมากมายกว่าที่หลายๆคนคาดคิด หากขอพรด้วยความตั้งมั่นและประพฤติตนเป็นคนดีแล้ว
พระตรีมูรติ ผู้ยิ่งใหญ่ สามารถให้พรผู้ศรัทธาได้มากกว่าที่จะคาดถึงได้
...สยามคเณศ...
พระพรหมเอราวัณ รูปบูชาพระพรหม มหาเทพผู้สร้างโลก ผู้สร้างมนุษย์และสรรพชีวิต
พระตรีมูรติ ชาวไทยศรัทธาและยกย่องให้เป็น
เทพเจ้าผู้ประทานความรักอันบริบูรณ์
บทความนี้ มาจากหนังสือ "ปริศนาแลมนตรา"
เขียนโดย "ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ" เป็นหนังสือสารคดีเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอารยธรรมเขมร ไขปริศนาที่ชวนให้ขบคิด ร้อยเรียงในลักษณะของสารคดีท่องเที่ยว ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณคดี ปรัชญา เทพปกรณัม ฯลฯ ราคาเล่มละ 265 บาท โดยสำนักพิมพ์ศินารา หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ


ตรีมูรติ
มาจากคำว่า ตรี หมายถึงสาม และคำว่า มูรติ หมายถึงรูปแบบ ดังนั้นคำว่า ตรีมูรติ จึงหมายถึง รูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ ประกอบด้วย พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ เป็นหนึ่งในลัทธิที่สำคัญในศาสนาพราหมณ์ หากมองตามหลักปรัชญาคือ พระผู้สร้าง พระผู้รักษา และพระผู้ทำลาย เปรียบได้กับหลักธรรมที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...

พระพรหม+พระวิษณุ+พระศิวะ = พระทัตตาเตรยะ = พระตรีมูรติ
การกำเนิด "พระตรีมูรติ" ก็มีกล่าวกันไว้หลายตำแหน่งต่างๆกัน และมักจะเข้าใจว่าพระตรีมูรติเป็นภาครวมทั้งสามพระองค์ในร่างเดียวกัน เรียกว่า ทัตตาเตรยะ (Dattatreya) คำว่า ทัตตา (Datta) หมายถึง การมอบให้พระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ ส่วนคำว่า เตรยะ (treya) หมายถึง ผู้เป็นบุตรแห่งฤาษีอัตริหรือเตรยะ อันเป็นอวตารของมหาเทพทั้งสามพระองค์ บ้างก็กล่าวว่าคือองค์พระนารายณ์ สำหรับเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระตรีมูรติความเดิมมีอยู่ว่า....
 
 
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.siamganesh.com/trimurti.html

พระนางปารวตี (พระแม่อุมาเทวี)





พระแม่อุมาเทวี... เจ้าแม่อุมา หรือ ปารวตี คือพระนามแห่งพระแม่ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล เป็นเทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมีอันสูงสุด พระองค์ทรงประทานยศถาบรรดาศักดิ์ และความเป็นใหญ่แก่ผู้หมั่นบูชาต่อพระองค์อย่างสม่ำเสมอ..!!!

อำนาจแห่งพระแม่อุมานั้น ยิ่งใหญ่หาสิ่งใดเทียบได้ พระองค์ทรงประทานชัยชนะเหนือศัตรู ประทานกำลังวังชาแห่งอิสตรี ทำลายสิ่งชั่วช้า ตลอดจนประทานบริวารและอำนาจในการปกครอง พระองค์ยังทรงประทานพรด้านความสมบูรณ์ ความอิ่มเอม ความผาสุขในการครองเรือน ครอบครัวที่เปี่ยมสุข ตลอดจนการคุ้มครองผู้ศรัทธาให้ปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

พระแม่อุมา ทรงเป็นมารดาแห่ง พระพิฆเนศ... เป็นชายาแห่ง พระศิวะ มหาเทพผู้ทำลายโลก 1 ใน 3 แห่ง พระตรีมูรติ พระแม่อุมาจึงเป็น 1 ใน 3 แห่งพระตรีศักติ ด้วย (ตรีศักติ หมายถึง พระแม่ทั้งสาม ได้แก่ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวตี) พระองค์มีวิมานสถิต ณ เขาไกรลาส เช่นเดียวกับพระศิวะเทพ มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์คือ โยนี (ฐานรองศิวลึงก์) มีทิพยรูปเป็นหญิงที่งดงาม เปี่ยมไปด้วยความเมตตา เป็นมารดาแห่งสรรพชีวิตทั้งปวง ฉลองพระองค์ด้วยอาภรณ์หลากสีสัน ประดับด้วยทองคำอย่างวิจิตร
พาหนะแห่งพระแม่อุมาเทวี คือ เสือ อันหมายถึงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ และความสง่างาม

ศาสตราวุธ แห่งพระแม่อุมาเทวีคือ
- ตรีศูล เป็นสัญลักษณ์แห่งการปราบปรามสิ่งชั่วร้าย และ
- ดาบ คือสัญลักษณ์แห่งความเฉียบขาด เป็นผู้ตัดสิน และอยู่เหนือผู้อื่น

พระแม่อุมาเทวี (เจ้าแม่อุมา) มีอวตารอยู่หลายปาง ปางที่สำคัญที่สุดอีก 2 ปางจากพระแม่อุมา คือ ปางพระแม่ทุรคา (ทุรกา) และ ปางพระแม่กาลี (เจ้าแม่กาลี) อ่านได้จากบทความตำนานพระแม่ทุรคาและพระแม่กาลี ในบทต่อๆไป

อีกปางหนึ่งที่อยากแนะนำ แต่ไม่ค่อยมีคนไทยรู้จัก นั่นคือ ปางพระแม่อุมาตากี คือการอวตารของพระแม่อุมาเทวี ที่รวมเอาพระแม่อีก 2 พระองค์เข้าไว้ด้วย คือ พระแม่อุมา พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี ได้อวตารรวมเป็นร่างเดียวกัน เหมือนกับพระตรีมูรติ นิยมนับถือกันในหมู่ผู้นับถือนิกายศักติ หรือนิกายที่นับถือเฉพาะเทพสตรีทั้ง 3 พระองค์ว่ายิ่งใหญ่เหนือกว่า พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ อันเป็นเทพบุรุษสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ตำนานพระแม่อุมาเทวี

ตามตำนานโบราณกล่าวกันว่า "พระแม่อุมา " นั้นแต่เดิมเกิดขึ้นจากการที่พระศิวะใช้พระหัตถ์ข้างขวาลูบเบาๆ ที่กลางพระอุระ พระแม่อุมาจึงจุติขึ้นกลางทรวงอกของพระศิวะ บ้างก็กล่าวไว้ว่าพระแม่อุมาเทวีเป็นธิดาของ ท้าวหิมวัต และ พระนางเมนกา เทพผู้เป็นใหญ่แห่งภูเขาหิมาลัย แต่ในบางคัมภีร์กล่าวไว้ว่าพระอุมา เป็นธิดาของ พระทักษะประชาบดี และเป็นพี่น้องกับ พระแม่คงคา (พี่สาวของพระแม่อุมา) พระอุมาในภาคนั้นมีพระนามว่า พระสตี เป็นชายาของ พระมุนีภพ คือ พระศิวะ อีกภาคหนึ่ง



เรื่องราวในตอนนี้คงเป็นตอนก่อนกำเนิดเป็นพระแม่อุมาเทวี ซึ่งได้ปรากฏเป็นเรื่องเล่าขานกัน เริ่มต้นจากความจงรักภักดีด่อพระสวามี (พระศิวะ) โดยพระนางได้ใช้อิทธิฤทธิ์บันดาลให้ไฟเผาไหม้ตนเอง

ซึ่งกล่าวไว้ว่า พระศิวะ ทรงอวตารลงมาในภาคของ มุนีภพ แต่ก็ด้วยความที่พระองค์ทรงแปลงร่างอวตารลงมาในชุดนุ่มห่มแบบปอนๆ มอซอ และมีสังวาลสวมคอเป็นประคำโดยนำกระดูก มาร้อยต่อกัน ไว้ผมหนวดเครารุงรัง ชอบนอนตามป่าช้า ร่างกายมีกลิ่นตัวเหม็นสาบ (แตกต่างจากการแบ่งภาคอื่นๆ) ทั้งนี้ก็เพื่อเสริมสร้างบารมี ด้วยการบำเพ็ญตน บำเพ็ญตบะ ซึ่งกาลต่อมาด้วยบุญกรรมที่สร้างสมกันมาแต่ก่อน ทำให้พระนางสตีมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีภาพองค์นี้ก็คือ ภาคหนึ่งแห่งองค์พระศิวะผู้เป็นผู้ใหญ่ในสามโลก พระนางสตีจึงตกลงใจอยู่คอยรับใช้ดูแลในฐานะชายา ฝ่ายพระทักษะประชาบดีมิได้เห็นด้วยกับความคิดของพระนางสตีนัก แต่ก็มิได้ขัดขวางแต่ประการใด ก็มีความคิดที่มาได้ไม่ชอบใจในตัวของพระมุนีภพเลย กลับแสดงความรังเกียจในการกระทำ ทั้งรูปร่าง การแต่งกายของพระมุนีภพมาโดยตลอด
พระทักษะประชาบดีนั้นมีพระธิดามากมายนัก และก็มากด้วยราชบุตรเขยเช่นกัน เป็นต้นว่า พระจันทร์ พระยมราช และพระมุนีอีกจำนวน 11 องค์ ซึ่งล้วนแต่มีอิทธิฤทธิ์บารมีทั้งสิ้น

ฝ่ายบรรดาราชบุตรเขยต่างๆ ก็คอยเอาอกเอาใจผู้เป็นพ่อตาอยู่เป็นนิจตลอดมา เว้นก็แต่พระมนีภพผู้เป็นสวามีพระนางสตีเท่านั้น ที่ไม่เคยเข้ามาเอาใจเลย จึงเป็นเหตุผลอีกกรณี ที่ทำให้พระทักษะประชาบดียิ่งไม่พอใจมากกว่าเดิมขึ้นไปอีก

จนกระทั่งวันหนึ่งพระทักษะประชาบดีต้องการจัดพิธียัญกรรม โดยพิธีการนี้ได้เชิญเหล่าเทพต่างๆ บนสวรรค์ พร้อมทั้งเหล่าราชบุตรเขยเข้าร่วมในพิธีกรรมนี้ทุกองค์ แต่ก็ยกเว้นพระมุนีภพเพียงพระองค์เดียว ที่ไม่ได้ให้เข้าร่วมพิธียัญกรรมในครั้งนี้ด้วย ด้านพระนางสตีเมื่อได้ฟังดังนั้น จึงเข้าสอบถามกับผู้เป็นบิดาถึงเรื่องนี้ ว่ามีเหตุอันใดจึงไม่เชิญพระสวามีของตนให้เข้าร่วมพิธียัญกรรม ฝ่ายผู้เป็นพ่อแรกๆ ก็กล่าวถึงการกระทำ การแต่งกายของพระมุนีภพว่าไม่เหมาะสมและพูดจาดูหมิ่น ดูถูกพระมุนีภพในทางที่เสียหาย ซึ่งทุกสิ่งที่กล่าวได้กระทำต่อหน้าราชบุตรเขยองค์อื่นๆ ที่มาร่วมในงานนี้ แต่พระนางสตีก็อ้อนวอนต่อบิดา ให้พระสวามีของตนได้เข้าร่วมในพิธีนี้ จนพระทักษะประชาบดีเกิดความรำคาญเป็นยิ่งนัก จึงกล่าววาจาด้วยเสียงอันดัง ต่อหน้าผู้เข้ามาร่วมในพิธีด้วยความดูหมิ่น รังเกียจต่อพระมุนีภพยิ่งนัก จนในที่สุดพระนางสตีผู้จงรักภักดีต่อสวามีของตน สุดที่จะทนต่อไปได้ ในวาจาที่รับฟังจากพระบิดาตนเองที่กล่าวประจานพระมุนีต่อหน้าผู้อื่น
พระนางสตีจึงตัดสินพระทัยแสดงอิทธิฤทธิ์ เปล่งแสงเปลวไฟอันร้อนแรงจากภายในกาย จนเผาตนเองมอดไหม้ต่อหน้าพระบิดาและผู้ร่วมพิธี จนสิ้นชีพในที่สุด (บางคัมภีร์กล่าวไว้ว่าพระนางสตีกระโดดเข้ากองไฟในพิธี)

ฝ่ายพระศิวะในภาคพระมุนีภพ เมื่อได้ฟังคำเล่าบอกจาก พระฤๅษีนารท (ฤาษีนารอด) ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระชายาของพระองค์ทรงเศร้าเสียใจเป็นที่สุด จากความเศร้าที่ทรงมีอยู่นั้น จึงทรงดึงเส้นผมออกมาปอยหนึ่ง ก็บังเกิดเป็นอสูรร่างกายใหญ่โต มีฤทธิ์เดชมากมาย มีพันเศียร พันกร สวมประคำหัวกระโหลกและงู นามว่า อสูรวีรภัทร บางคัมภีร์กล่าววาอสูรวีรภัทรนี้แบ่งภาคโดยออกจากพระโอษฐ์ของพระศิวะ
แล้วพระศิวะจึงได้สั่งให้อสูรวีรภัทรไปยังพิธีที่จัดขึ้นและให้ทำลายพิธีนั้นให้สิ้นในที่สุด ฝ่ายอสูรวีรภัทรเมื่อรับฟังคำสั่งจึงตรงไปยังพิธีทันที พร้อมด้วยเหล่าสมุนยักษนับถัน เมื่อไปถึงจึงเข้าอาระวาดทำลายพิธี และบรรดาเทพทั้งหลายที่มาร่วมงานต่างก็หลบหนีทันบ้างไม่ทันบ้าง ก็พากันบาดเจ็บล้มตายไปมากมาย โดยอสูรวีรภัทร เมื่อทำลายพิธีแล้ว จึงได้ประกาศในพิธีว่า นี่คือโทษที่ต้องได้รับจากพระศิวะ ส่วนพระทักษะประชาบดีบิดาของพระสตีได้ถูกอสูรวีรภัทรพ่นไฟใส่พระเศียรจนขาดกระเด็นมอดไหม้เป็นจุล และเมื่อหัวขาดแล้วอสูรวีรภัทรจึงนำหัวนั้นโยนเข้ากองไฟมอดไหม้ไปด้วยความแค้นที่ดูหมิ่นในศักดิ์ศรีของพระศิวะ เมื่อทกอย่างเสร็จตามคำบัญชาของพระศิวะ อสูรวีรภัทรพร้อมสมุนยักษ์จึงยกทัพกลับไปเข้าเฝ้าพระศิวะดังเดิม อสูรวีรภัทร พร้อมสมุนยักษ์จึงทัพกลับไปเข้าเฝัาพระศิวะดังเดิม

เหตุการณ์นี้ทำให้เหล่าเทพทั้งหลาย รวมถึงบรรดาราชบุตรเขยที่รอดชีวิตมาได้ พากันไปขอความช่วยเหลือจาก พระพรหม เพื่อให้ทรงแนะหาทางแก้ไขว่าควรจะทำเช่นไรจึงจะทุเลาความโกรธกริ้วของพระศิวะได้ เพื่อไม่ให้โลกถูกทำลายลงไป เพราะพระศิวะเป็นเทพผู้ทำลาย พระพรหมเมื่อได้ฟังแล้วจึงได้นำเหล่าเทพทั้งหลายนั้นไปเข้าเฝ้าพระศิวะที่เขาไกรลาส เพื่อขอความเห็นใจและขมาในสิ่งที่เกิดขึ้น จนในที่สุดการเจรจาพูดคุยกันนั้น พระศิวะจึงยอมสงบศึกพร้อมกับช่วยชุบชีวิตเหล่าเทพที่ได้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้งนี้การชุบชีวิตนั้นก็รวมถึงพระทักษะประชาบดีผู้เป็นพ่อตาของพระองค์ด้วย แต่เศียรที่มอดไหม้ไปนั้นมิได้ทรงนำมาคืนให้ พระองค์ได้นำหัวแพะมาต่อให้กับพระทักษะประชาบดี เพื่อแสดงให้เหล่าเทพทั้งหลายได้เห็นความโง่ของพระทักษะประชาบดี แม้แต่รูปกายภายนอกจะเป็นเช่นไร ก็ไม่สมควรดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามผู้นั้นโดยมิได้ดูถึงเนื้อแท้และการกระทำที่ดีของเขาเลย

เมื่อเรื่องทุกอย่างจบลงด้วยดีแล้ว พระศิวะจึงมุ่งไปบำเพ็ญตบะ บำเพ็ญตนเป็นมุนีต่อในป่าหิมพานต์
เพื่ออุทิศกุศลให้กับพระนางสตี ผู้เป็นชายาของพระองค์ต่อไป...






ขอบพระคุณข้อมูลอ้างอิงจาก http://board.postjung.com/656121.html

พระแม่ธรณี

 
 
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระแม่ธรณี หรือ แม่พระธรณี หรือ พระศรีวสุนธรา เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์, ฮินดู และพุทธศาสนา
ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า "ธรณิธริตริ" แปลว่า "ผู้ค้ำจุนพระธรณี" แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้
เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ

ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมพญามารที่รังควานสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้ ดั่งรายละเอียดตามพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสว่า
แต่ในชาติอาตมะเป็นพระยาเวสสันดรชาติเดียวนั้น ก็ได้บำเพ็ญทานบารมีถึงบริจาคนางมัทรีเป็นอวสาน พื้นพสุธาก็กัมปนาการถึง 7 ครั้ง แลกาลบัดนี้ อาตมะนั่งเหนืออปราชิตบัลลังก์อาสน์ หมู่มารอริราชมาแวดล้อมยุทธการเป็นไฉนแผ่นพสุธาธารจึงดุษณีภาพอยู่ฉะนี้ แลพระยามารอ้างบริษัทแห่งตนให้เป็นกฎสักขีขานคำมุสา แลพื้นปฐพีอันปราศจากเจตนาได้สดับคำอาตมะในครั้งนี้จงรับเป็นสักขีพยานแห่งข้า แล้วเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาอันประดับด้วยจักรลักษณะอันงามดุจงวงไอยรารุ่งเรืองด้วยพระนขามีพรรณอันแดงดุจแก้วประพาฬออกจากห้องแห่งจีวร ครุวนาดุจวิชุลดาในอัมพรอันออกจากระหว่างห้องแห่งรัตวลาหก ยกพระดัชนีชี้เฉพาะพื้นมหินทรา จึงออกพระวาจาประกาศแก่นางพระธรณีว่า ดูก่อนวนิดาดลนารี ตั้งแต่อาตมะบำเพ็ญพระสมภารบารมีมาตราบเท่าถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดรราช ได้เสียสละบุตรทานบริจาคแลสัตตสดกมหาทานสมณะพราหมณาจารย์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะกระทำเป็นสักขีพยานในที่นี้ก็มิได้ มีแต่พสุนธารนารีนี้แลรู้เห็นเป็นพยานอันใหญ่ยิ่ง เป็นไฉนท่านจึงนิ่งมิได้เป็นพยานอาตมาในกาลบัดนี้
ในขณะนั้น นางพสุนธรีวนิดาก็มิอาจดำรงกายาอยู่ได้ ด้วยโพธิสมภารานุภาพยิ่งใหญ่แห่งพระมหาสัตว์ ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้นปฐพียืนประดิษฐานเฉพาะพระพุทธังกุรราช เหมือนดุจร้องประกาศกราบทูลพระกรุณาว่าข้าแต่พระมหาบุรุษราช ข้าพระบาททราบซึ่งสมภารบารมีที่พระองค์สั่งสมอบรมบำเพ็ญมา
แต่น้ำทักษิโณทกตกลงชุ่มอยู่ในเกศาข้าพระพุทธเจ้านี้ ก็มากกว่ามากประมาณมิได้ ข้าพระองค์จะบิดกระแสใสสินโธทกให้ตกไหลหลั่งลง จงเห็นประจักษ์แก่นัยนาในครานี้ แลนางพระธรณีก็บิดน้ำในโมลีแห่งตน อันว่ากระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศโมลีแห่งนางพสุนธรีเป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศที่ทั้งปวงประดุจห้องมหาสาครสมุทร พระผู้เป็นเจ้ารักขิตาจารย์จึงกล่าวสารพระคาถาอรรถาธิบายความก็เหมือนนัยกล่าวแล้วแต่หลัง
ครั้งนั้น หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำปลาตนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทรที่นั่งทรงองค์พระยาวัสวดีก็มีบาทาอันพลาดมิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตามชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร อันว่าระเบียบแห่งฉัตรธวัชจามรทั้งหลาย ก็ทักทบท่าวทำลายล้มลงเกลื่อนกลาดและพระยามาราธิราชได้ทัศนาการเห็นมหัศจรรย์ ดังนั้น ก็บันดาลจิตพิศวงครั่นคร้ามขามพระเดชพระคุณเป็นอันมาก พระคันถรจนาจารย์จึงกล่าวพระคาถาสรรเสริญคุณานุภาพโพธิสัตว์อรรถาธิบายความก็ซ้ำหนหลัง
ครั้งนั้นมหาปฐพีก็ป่วนปั่นปานประหนึ่งว่าจักรแห่งนายช่างหม้อบันลือศัพท์นฤนาทหวาดไหวสะเทือนสะท้าน เบื้องบนอากาศก็นฤโฆษนาการ เสียงมหาเมฆครืนครั่นปิ่มปานจะทำลายภูผาทั้งหลาย มีสัตตภัณฑ์บรรพต เป็นต้น ก็วิจลจลาการขานทรัพย์สำเนียงกึกก้องทั่วทั้งท้องจักรวาล ก็บันดาลโกลาหลทั่วสกลดังสะท้าน ปานดุจเสียงป่าไผ่อันไหม้ด้วยเปลวอัคคี ทั้งเทวทุนทุภีกลองสวรรค์ก็บันลือลั่นไปเอง เสียงครืนเครงดุจวีหิลาชอันสาดทิ้ง ถูกกระเบื้องอันเรืองโรจน์ร้อนในกองอัคนี การอัสนีบาตก็ประหารลงเปรี้ยง ๆ เพียงพื้นแผ่นปฐพีจะพังภาคดังห่าฝน ถ่านเพลิงตกต้องพสุธาดลดำเกิงแสงสว่างหมู่มารทั้งหลายต่าง ๆ ตระหนกตกประหม่า กลัวพระเดชานุภาพแพ้พ่าย แตกขจัดขจายหนีไปในทิศานุทิศทั้งปวงมิได้เศษ แลพระยามาราธิราชก็กลัวพระเดชบารมี ปราศจากที่พึ่งที่พำนักซ่อนเร้นให้พ้นภัยหฤทัย ท้อระทดสลดสังเวชจึงออกพระโอษฐ์สรรเสริญพระเดชพระคุณพระมหาบุรุษราชว่า ดังอาตมาจินตนาการอันว่าผลทานศีลสรรพบารมีแห่งพระสิทธัตถกุมารนี้ ปรากฏอาจให้บังเกิดมหิทธฤทธิ์สำเร็จกิจมโนรถปรารถนาทุกประการ มีพระกมลเบิกบานแผ่ไปด้วยประสาทโสมนัส จึงทิ้งเสียซึ่งสรรพาวุธประนมหัตถ์ทั้ง 2,000 อัญชลีกรนมัสการ ก็กล่าวสารพระคาถาว่า นโม เต ปุริสาชญญ เป็นอาทิ อรรถาธิบายความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ปุริสาชาไนยชาติเป็นอุดมบุรุษราชในโลกนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายวันทนาการชุลีพร้อมด้วยทวารทั้ง 3 คือกายวจีมโนประณามประณตในบทบงกชยุคลบาท บุคคลผู้ใดในมนุษย์โลกธาตุกับทั้งเทวโลก ที่จะปูนเปรียบประเสริฐเสมอพระองค์คงเทียมเทียบนั้นมิได้มี พระองค์ได้ตรัสเป็นพระศรีสรรเพชญ์เสร็จแจ้งจตุราริยสัจจ์ศาสดาจารย์มีพระเดชครอบงำชำนะหมู่มาร เป็นปิ่นปราชญ์ฉลาดในอนุสัยแห่งสรรพสัตวโลกจะข้ามขนนิกรเวไนย์ให้พ้นจตุรโอฆกันดารบรรลุฝั่งฟากอมฤตมหานฤพานอันเกษมสุขปราศจากสังสารทุกข์ในครั้งนี้ แลพระยาวัสวดีมารโถมนาการพระคุณพระมหาบุรุษราชด้วยจิตประสาทเลื่อมใส ผลกุศลนั้นจะตกแต่งให้ได้ตรัสแก่พระปัจเจกโพธิญาณในอนาคตกาลภายหน้า เมื่อพระยามารกล่าวสัมภาวนากถาสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ แล้วก็นิวัตตนาการสู่สกลฐานเทวพิภพ
 

ลักษณะของพระแม่ธรณี

ตามที่ปรากฏ โดยมากมักจะเป็นรูปเทวดาผู้หญิง มีรูปร่างอวบใหญ่ ล่ำสันอย่างได้สัดส่วน หรือในบางแห่งจะมีรูปร่างอ้อนแอ้น มีความงามประดุจเทพธิดา นั่งในท่าคุกเข่า แต่ยกเข่าขวาขึ้นสูงกว่าเข่าซ้าย บางแห่งสร้างให้อยู่ในท่ายืน แต่ที่เหมือนกันก็คือมวยผมปล่อยยาว มือขวายกข้ามศีรษะไปจับไว้ที่โคนมวยผม ส่วนมือซ้ายจับมวยผมแสดงท่ากำลังบิดให้สายน้ำไหลออกมาจากมวยผมนั้น ส่วนเครื่องทรงไม่มีแบบแผนที่แน่นอนตายตัว ตามแต่จินตนาการของผู้สร้าง บางแห่งสวมพัตราภรณ์เฉพาะช่วงล่าง แต่บางแห่งทั้งนุ่งผ้าจีบและห่มสไบอย่างสวยงาม ประดับเครื่องถนิมพิมพาภรณ์มีกรอบหน้าและจอนหู เป็นต้น
พระแม่ธรณีเป็นเทวดาอีกองค์หนึ่งที่ได้รับความนิยมบูชาของคนไทย มักเป็นสัญลักษณ์แห่งแผ่นดิน ดั่งปรากฏในวรรณคดีไทย เช่น โคลงของศรีปราชญ์ก่อนถูกประหารที่กล่าวว่า
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง ฯ
เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เช่น การประปานครหลวง,การประปาส่วนภูมิภาค,พรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก วิกิพีเดีย

Saturday 26 October 2013

สูตรน้ำผลไม้ที่ "ในหลวง"ทรงเสวยทุกวัน









สูตรน้ำผลไม้ที่ "ในหลวง"ทรงเสวยทุกวัน


วันก่อนได้รับเมล์จากเพื่อนๆส่งมาให้อ่านเห็นว่าเป็นประโยชน์เลยนำมาลงหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ....

เป็นสูตรน้ำผลไม้ที่ได้จากข้าหลวงประจำพระองค์ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ นะคะ


เป็นสูตรที่ในวังกำลังนิยมกันมาก .." ในหลวง"ทรงเสวยทุกวัน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีผิวพรรณสดใส


โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นโรคมะเร็งจะดีมากค่ะ มีคนแถวบ้านเป็นมะเร็งอายุประมาณ 80 กว่าแล้วค่ะ ต้องให้คีโม แต่ปรากฏว่าพอรับประทานน้ำผลไม้สูตรนี้ไปเป็นเวลาประมาณไม่ถึง 1 เดือน ปรากฏว่ามีผมงอกขึ้น และแข็งแรงขึ้นมาก จนหมอตกใจ ลองนำไปปั่นทานกันดูนะคะน่าจะดีต่อสุขภาพไม่มากก็น้อย

ส่วนประกอบก็ราคาไม่แพงมากด้วยค่ะ

สูตรน้ำผักผลไม้

1. แอปเปิ้ล 1 ผล
2. แครอท 1 ลูก
3. ผักสลัด (ผักกาดแก้ว) 3 ใบ
4. ตั้งโอ๋ 2 ก้าน
5. มะนาว 1 ลูก
6. น้ำเสาวรส 1/2 แก้ว (ถ้าไม่มีสดให้ซื้อน้ำเสาวรสกระป๋องก็ได้ค่ะ)
7. น้ำผึ้งแท้ 1/2 แก้ว
8. น้ำเปล่า 1-2 แก้ว แล้วแต่ความชอบ
9. ฝรั่ง 1 ผล
10. มะเขือเทศสีดา (ลูกเล็กๆ) 5 ลูก
11. น้ำตาลทรายแดง 3 ช้อนโต๊ะ


นำทุกอย่างมาปั่นรวมกันค่ะ สูตรนี้จะทำได้ประมาณ 1 ลิตร
ในกรณีที่เป็นคนป่วย ให้รับประทานวันละ 1 ลิตร


แต่ถ้าดื่มเพื่อสุขภาพเฉยๆ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ2-3 วันค่ะ

ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192830

พระพิฆเนศวร์ 32 ปาง

พระพิฆเนศ 32 ปาง

ปางที่ 1 : พระบาล คณปติ (Bala Ganapati) อวตารภาคเด็ก : ปางอันเป็นที่รักของทุกคนและเด็กๆ
"โอม ศรี บาลา คณปติ ยะนะมะฮา"
เป็นพระพิฆเนศในวัยเด็ก คลานอยู่กับพื้น หรืออิริยาบทอื่นๆ เมื่อโตขึ้นจึงเปลี่ยนลักษณะ มีวรรณะสีแดงเข้มมี 4 กร
บาลคณปติ หมายถึงสีทองของพระเจ้าทรง้นอ้อย มะม่วง กล้วย และขนุนทรงูกมะขวิด แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และภาวะการเจริญเติบโต
นิยมบูชาในบ้านเรือน หรือโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เช่น โรงเรียนอนุบาลและชั้นประถม สถานรับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น ฯลฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 2 : พระตรุณ คณปติ (Taruna Ganapati)
อวตารภาควัยหนุ่ม : ปางที่ให้คุณประโยชน์ในกิจการงาน
"โอม ศรี ตรุณะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดงอมส้มเหมือนอาทิตย์ยามแรกอรุณ มี 8ทรงข้าว ต้นอ้อย ตะบอง บ่วงบาศ งาหัก
ผลฝรั่ง ขนมโมทกะ และขนมอื่นๆ ปางนี้เป็นตัวแทนการเจริญเติบโต ความเป็นหนุ่มสาว
นิยมตั้งบูชาไว้ตามสถานศึกษา มหาวิทยาลัย หรือสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาววัยกระตือรือร้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 3 : พระภักติ คณปติ (Bhakti Ganapati) ปางบูชาขอพระเวท เพื่อความสมบูรณ์เติมเต็มของชีวิต
"โอม ศรี ภัคดี คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีขาวบริสุทธิ์ดั่งพระจันทร์เต็มดวงในฤดูเก็บเกี่ยว มี 4ทรงมะม่วง กล้วย ลูกมะพร้าว
และถ้วยข้าวปาส(ปรุงด้วยนมสด และข้าวสาร มีรสหวาน) พระภัคติ คณปติ หมายถึงผู้ภักดีอย่างแท้จริง
บูชาเพื่อความสุขสมหวังในชีวิต หรือเพื่อหลุดพ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 4 : พระวีระ คณปติ (Veera Ganapati) อวตารแห่งนักรบ ปางออกศึก และปราบมาร ให้อำนาจในการบริหารปกครอง และความเป็นผู้นำ
"โอม ศรี วีระ คณปติ ยะนะมะฮา
วรรณะสีแดงโลหิต มี 16 กร ทรงอาวุธ และสิ่งมงคลต่างๆคือ โล่ หอก ค้อน คทา ธงชัย จักรตรา พญางู ขวาน คันศร ลูกศร ตรีเพชร ขอสับช้าง อสูร กระบี่ ตะบอง และบ่วงบาศ พระกรเหล่านั้นกางออกประดุจรัศมีอำนาจแห่งดวงอาทิตย์
อำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 5 : พระศักติ คณปติ (Shakti Ganapati) ปางทรงอำนาจเหนือการงาน การเงิน และความรัก
"โอม ศรี ศักติ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแป้งจันทร์ มี 4 กร ประทานพรทรงมาลัย บ่าวบาศ และกรหนึ่งโอบพระชายาที่ประทับอยู่หน้าตักด้านซ้าย
รัศมีสีแดงส้ม สื่อถึงพลังอำนาจที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง
อำนวยผลให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 6 : พระทวิชา คณปติ (Dwija Ganapati) ปางของการบุกเบิก เริ่มต้นชีวิตใหม่ เปิดกิจการใหม่
"โอม ศรี ทวิชา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีขาวมี 4 เศียร 4ทรงลูกปะคำ ไม้ครู(หรือพลอง) กาน้ำ และคัมภีร์
เป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิดใหม่ ความพากเพียร และแสวงหาวิชาความรู้
อำนวยผลให้กับผู้ประกอบกิจการต่างๆ นักธุรกิจ นักลงทุน นักสำรวจ นักบุกเบิก คนทำงานต่างแดน เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 7 : พระสิทธิ คณปติ (Siddhi Ganapati) ปางประทานความสมบูรณ์ และทรัพย์สมบัติ
"โอม ศรี สิทธิ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงช่อดอกไม้ มะม่วง ต้นอ้อย และขวาน ส่วนงวงนั้นชูขนม
คอยประทานความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ให้กับโลก
อำนวยผลด้านทรัพย์สินเงินทอง และความอุดมสมบูรณ์
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 8 : พระอุจฉิษฏะ คณปติ (Uchhishta Ganapati) ปางเสน่หา และความสำเร็จสมปรารถนา
"โอม ศรี อุจฉิษฏะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีฟ้าเทาดุจเมฆา มี 6 กร ประทับนั่งโดยพระกรหนึ่งโอบอุ้มศักติชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย
ส่วนพระกรอื่นถือลูกประคำ ลูกทับทิม พิณ รวงข้าว และดอกบัว
อำนวยผลให้เกิดเสน่ห์ และความสำเร็จในด้านต่างๆตามแต่จะขอพร
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 9 : พระวิฆณา คณปติ (Vighna Ganapati) ปางขจัดอุปสรรค และแก้ไขปัญหา
"โอม ศรี วิฆนา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทองคำ มี 8 กร ทรงมาลัย ขวาน ดอกไม้ จักรตรา หอยสังข์ ต้นอ้อย(เป็นคันศร) บ่วงบาศ และตะบอง
อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 10 : พระกษิประ คณปติ (Kshipra Ganapati) ปางประทานพรให้สำเร็จรวดเร็ว
"โอม ศรี กษิประ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดงเข้มดุจกุหลาบ มี 4 กร เป็นผู้ให้ศีลให้พร ประทานพรให้เกิดผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว
ทรงตะบอง งาหัก บ่วงบาศ และช่อดอกไม้
อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 11 : พระเหรัมภะ คณปติ (Heramba Ganapati) ปางปกป้องคุ้มครอง
"โอม ศรี เหรัมภะ คณปติ ยะนะมะฮา
วรรณะสีขาว มี 5 เศียร 10 กร ประทับนั่งบนหลังสิงโต หมายถึง พลังอำนาจในการปกครองบริวาร กางพระกรประดุจรัศมีคุ้มกันสรรพภัย พระหัตถ์ซ้ายประทานพร พระหัตถ์ขวาอำนวยพรทรงมะม่วง ลูกประคำ ขนมโมทกะ งาหัก บ่วงบาศ ค้อน ขวาน
และพวงมาลัย บูชาเพื่อขจัดความอ่อนแอ ไร้พลัง
เป็นปางหนึ่งที่พระราชาในอินเดียนิยมบูชากันมาก อำนวยผลด้านการปกป้องคุ้มครองบริวาร การบริหาร ปกครองของผู้นำ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 12 : พระมหา คณปติ (Maha Ganapati) ปางประทานความสุขอันยิ่งใหญ่ให้ครอบครัว
"โอม ศรี มหา คณปติ ยะนะมะฮา
วรรณะสีแดง มี 10 กร 3 เนตร ประดับจันทร์เสี้ยวบนมงกุฎปางนี้ทรงอุ้มชายา คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิไว้บนตักทั้งสองข้าง
(บางตำราว่าอุ้มองค์เดียว)ทรงโถใส่อัญมณี รวงข้าว จักรตรา บ่วงบาศ ดอกลิลลี่ ต้นอ้อย (เป็นคันศร) ดอกบัว และลูกทับทิมแดง
อำนวยผลให้ครอบครัวเกิดความสมบูรณ์พูนสุข มีทรัพย์สิน และบริวารมาก
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 13 : พระวิชัย คณปติ (Vijaya Ganapati) ปางกำจัดอุปสรรค และความมืดมิด
"โอม ศรี วิชะยา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 4 กร ประทับบนตัวหนู หมายถึงการทำลาย ความมืดมิด
และอุปสรรคทั้งหลายให้หมดไปทรงะบอง ผลมะม่วง และบ่วงบาศ
อำนวยผลทางปัญญาให้กับครูบาอาจารย์ ปัญญาชน ศิลปิน นักคิด นักเขียน และช่างฝีมือทุกแขนง
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 14 : พระลักษมี คณปติ (Lakshmi Ganapati) ปางแห่งความมั่งมีศรีสุข และปรีชาญาณ
"โอม ศรี ลักษมี คณปติ ยะนะมะฮา
วรรณะสีขาว มี 8 กร เป็นเทพแห่งการให้ที่บริสุทธิ์ สีขาวหมายถึงการมีสติปัญญาสูงส่ง พระหัตถ์ทั้งสองข้างโอบอุ้มพระชายา 1 หรือ 2 พระองค์ คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิ (บางตำราว่าหนึ่งในนั้นคือพระลักษมี จึงเรียกว่า ลักษมี คณปติ)
ทรงผลทับทิมแดง ช่อกัลปพฤกษ์ นกแก้ว ตะบอง บ่วงบาศ โถใส่อัญมณี และกระบี่
อำนวยผลทางด้านสติปัญญา และความมั่งมีศรีสุข
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 15 : พระนฤตยะ คณปติ (Nritya Gannapati) ปางนาฏศิลป์ เจ้าแห่งลีลาการร่ายรำ และศิลปะการแสดง
"โอม ศรี นฤตยะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีเหลืองทอง มี ๔ กร เป็นนักเต้นร่ายรำระบำฟ้อน และเป็นนักแสดงที่สร้างความบันเทิง และความสุขให้ชาวโลก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัวทรงะบอง บ่วงบาศ และขวาน
ควรตั้งบูชาในวิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงเรียนสอนเต้นรำ บัลเล่ต์ โยคะดัดตน โรงเรียนสอนการแสดง โรงละคร โรงถ่ายทำภาพยนตร์ และสถานบันเทิงต่างๆตามความเหมาะสม
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 16 : พระอุทวะ คณปติ (Urdhva Ganapati) ปางช่วยให้สมปรารถนาในทุกสิ่ง
"โอม ศรี อุทวะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทอง มี 6 กร พระกรข้างหนึ่งโอบพระชายาไว้บนตัก ด้านซ้ายทรงถือดอกบัว
คบเพลิง ช่อดอกไม้ งาหัก ลูกศร คันศรทำจากต้นอ้อย และรวงข้าว
ในนิกายตันตระ นิยมบูชาปางนี้เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีด้านเสน่ห์ อำนวยผลให้สมปรารถนาทุกประการ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 17 : พระเอกอักษรา คณปติ (Ekaakshara Ganapati) ปางทรงอำนาจด้านพระเวท
"โอม ศรี เอกา อักษรา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 4 กร มีดวงตาที่สาม ประดับจันทร์เสี้ยวอยู่เหนือเศียร
กรหนึ่งประทานพรทรงะบอง บ่วงบาศ และผลทับทิม ประทับเหนือพาหนะคือหนู
อำนวยผลด้านป้องกันอาถรรพณ์ และคุณไสยสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ร่ำเรียนด้านพระเวท หรือสรรพศาสตร์ด้านต่างๆ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 18 : พระวระ คณปติ (Vara Ganapati) ปางแห่งความรักที่สุขสมหวัง
"โอม ศรี วะระ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 4 กร 3 เนตร มีดวงตาที่สาม อันเป็นดวงตาแห่งสติปัญญา และมีจันทร์เสี้ยวประดับเหนือเศียร กรหนึ่งโอบกอดชายาบนตักทรงชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ ที่งวงชูโถใส่น้ำผึ้ง
อำนวยผลให้สมหวังในความรัก ควรตั้งบูชาไว้ในร้านเสื้อผ้า ร้านค้าที่เกี่ยวกับการสมรส การแต่งงาน และความรัก ฯลฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 19 : พระตรีอักษรา คณปติ (Tryakshara Ganapati) ปางกำเนิดอักขระโอม
"โอม ศรี ตรีอักษรา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทอง มี 4ทรงะบอง บ่วงบาศ มะม่วง และมีขนมโมทกะอยู่ที่งวง
อำนวยผลด้านการเรียนพระเวท และอักษรศาสตร์
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 20 : พระกศิปะ ปรสัท คณปติ (Kshipra-Prasada Ganapati) ปางประทานทรัพย์ และความรอบรู้
"โอม ศรี กศิปะ ปรสัท คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 6 กร ท้องที่ใหญ่นั้นเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล หมายถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งโภคทรัพย์ และความรอบรู้อันกว้างไกลทรง้นทับทิม ตะบอง บ่วงบาศ ดอกบัว และผลทับทิม
เหมาะสำหรับตั้งบูชาในสถานศึกษา มหาวิทยาลัย สถานอบรมวิชาชีพต่างๆ หรือบริษัทห้างร้านทั่วไป
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 21 : พระหริทรา คณปติ (Haridra Ganapati) ปางรวยเสน่ห์ และรวยทรัพย์
"โอม ศรี หริทรา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีเนื้อ หรือสีเหลืองอ่อน มี 3 เนตร 4ทรงะบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ ใช้อำนาจของบ่วงเพื่อร้อยรัดศรัทธาของผู้เลื่อมใส และตะบองผลักดันให้ก้าวเดินไปข้างหน้า
อำนวยผลให้ทุกคนที่อยากมีเสน่ห์ และร่ำรวย เช่น ดารานักแสดง นักดนตรี นักร้อง ดีเจ พิธีกร หรือผู้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม ซึ่งต้องใช้พรสวรรค์ และเสน่ห์ส่วนตัว
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 22 : พระเอกทันตะ คณปติ (Ekadanta Ganapati) ปางสำเร็จทุกสิ่ง
"โอม ศรี เอกทันตะ ปะระสัท คณปติ ยะนะมะฮา"

วรรณะสีฟ้า มี 4ทรงขวาน (เพื่อใช้กำจัดอวิชา)ทรงลูกประคำ (เพื่ออธิษฐาน) ผลไม้ และงาข้างที่หัก
เอกทันตะหมายถึงเทพเจ้าผู้มีงาข้างเดียว
อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทุกสิ่งตามแต่จะอธิษฐาน
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 23 : พระสะริสติ คณปติ (Shrishti Ganapati) ปางออกเดินทาง และสร้างสรรค์สิ่งใหม่
"โอม ศรี สะริสติ ปะระสัท คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ขี่หนูเป็นพาหนะทรงะบอง มะม่วง และบ่วงบาศ
อำนวยผลให้กับผู้ประกอบอาชีพด้านการเดินทางที่ไม่หยุดนิ่ง เช่น นักบิน สจ๊วต แอร์โฮสเตส กัปตันเรือ มัคคุเทศก์ ผู้ทำงานด้านสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆไม่หยุดนิ่งเช่น นักคิด นักเขียน นักโฆษณา นักออกแบบ เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 24 : พระอุททันตะ คณปติ (Uddanda Ganapati) ปางกำจัดภูตผี และคุณไสย
"โอม ศรี อุททันตะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 10ทรงโถใส่ขนม หรือน้ำผึ้ง ดอกบัว ดอกลิลลี่สีฟ้า คทา ต้นอ้อย กิ่งไม้ บ่วงบาศ พวงมาลัย และผลทับทิม โดยใช้กรซ้ายโอบพระชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย
อำนวยผลด้านขจัดทุกข์ภัย และอาถรรพณ์ต่างๆ บันดาลให้ครอบครัวมีความสุข
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 25 : พระรีนาโมจัน คณปติ (Runamochana Ganapati) ปางแก้กรรม และขจัดหนี้สิน
"โอม ศรีโอมจัน คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีขาว มี 4 กร มีหน้าที่ปลดปล่อยมนุษย์ออกจากพันธนาการ คำสาป
และความผิดพลาดทั้งหลายทรงะบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ
เหมาะบูชาสำหรับผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ให้ดีขึ้น (พลิกดวงชะตา) แก้ไขกรรมเก่า ปลดหนี้สิน ล้างมลทินทั้งปวง
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 26 : พระตันติ คณปติ (Dhundhi Ganapati) ปางขุมทรัพย์ทางปัญญา
"โอม ศรี ตันติ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี ๔ทรงูกประคำ ขวาน โถใส่อัญมณี ที่แสดงขุมทรัพย์ของผู้มีพุทธิปัญญา
อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านใช้ความคิด ใช้ปัญญาสร้างสรรค์ทุกแขนง
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 27 : พระทวิมุข คณปติ (Dwimukha Ganapati) ปาง 2 เศียร
"โอม ศรี ทวิมุข คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีเนื้อ มี 2 เศียร 4ทรงะบอง บ่วงบาศ และโถอัญมณี เป็นปางที่เป็นคนที่ปรับตัวได้กับทุกคนให้ทรัพย์มาก และขจัดอวิชา
อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ ด้านติดต่อเจรจา ประสานงาน เป็นสื่อกลางต่างๆ นักการทูต นักจิตวิทยาที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูง
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 28 : พระตรีมุข คณปติ (Trimukha Ganapati) ปาง 3 เศียร
"โอม ศรี ตรีมุข คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง หรือสีชมพูสด มี 3 เศียร 6 กร สามเศียรหมายถึง ภพทั้งสาม (สวรรค์,โอมนุษย์, บาดาล)
ปางหนึ่งประทับนั่งบนดอกบัว ทรงประทานพร พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
พระหัตถ์ซ้ายอำนวยพร กรอื่นๆทรงถือตะบอง ลูกปะคำ บ่วงบาศ และโถใส่น้ำผึ้ง
อำนวยผลทางด้านโภคทรัพย์ มีอำนาจ และแคล้วคลาดปลอดภัย
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 29 : พระสิงหะ คณปติ (Sinha Ganapati) ปางประทับราชสีห์
"โอม ศรี สิงหะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีขาว มี 8 กร พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายอำนวยพรทรงช่อดอกไม้ ราชสีห์ พิณ ดอกบัว โถอัญมณี ประทับบนสิงโต (คล้ายพระเหรัมภะคณปติ) หมายถึงพลังอำนาจในการปกครองบริวาร ผิววรกายขาวเป็นสัญลักษณ์ของพลังบริสุทธิ์ หรือการหลุดพ้น
การอำนวยผลและสถานที่สำหรับตั้งบูชา เป็นดุจเดียวกับ พระเหรัมภะคณปติ และพระวีรคณปติ คืออำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 30 : พระโยคะ คณปติ (Yoga Ganapati) ปางแห่งพระเวท หรือปางสมาธิกรรมฐาน
"โอม ศรี โยคะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงูกประคำ ต้นอ้อย บ่วงบาศ และขอสับช้าง เป็นปางแห่งพระเวท และการรักษาโรคภัยต่างๆ
อำนวยผลให้กับผู้เป็นอาจารย์ และนักศึกษาโยคะสมาธิแบบต่างๆ เหมาะสำหรับตั้งบูชาไว้ในสถานศึกษา
หรือบูชาไว้ใน เทวสถาน เทวาลัย โรงเรียนสอนศาสนาฮินดู ห้องพระ ห้องปฏิบัติธรรมภายในบ้าน เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 31 : พระทุรคา คณปติ (Durga Ganapati) ปางมหาอำนาจ
"โอม ศรี ทุรคา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทอง มี 8ทรงะบอง คันศร ลูกศร บ่วงบาศ ธงชัย ลูกประคำ และขนมโมทกะ
เป็นปางที่พระราชาในชมพูทวีปนิยมสักการบูชามากปางหนึ่ง
อำนวยผลดีต่อผู้มีหน้าที่ราชการ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ฝ่ายปกครอง ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกระดับ
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 32 : พระสังกตะหะรา คณปติ (Sankatahara Ganapati) ปางทำลายอุปสรรค และความเศร้าหมอง
"โอม ศรี สังกตะ หะรา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ประทับนั่งบนดอกบัวสีแดง พระหัตถ์ขวาอำนวยพร
พระหัตถ์ซ้ายโอบชายาบนตักซ้าย ส่วนกรอื่นทรงถือชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ
อำนวยผลให้ครอบครัวมีความสุข หรือประสบความสำเร็จ ตามแต่จะอธิษฐาน
 
 
ขอขอบพระคุณ แหล่งข้อมูลจาก http://www.srichinda.com/index.php?mo=3&art=172756

พระราชประวัติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (ร.9) โดยย่อ

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สืบแทนสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งเสด็จสู่สวรรคาลัยโดยกะทันหัน
King 001King 002King 003

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซทท์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ พระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช” ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระฐานันดรศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์ มีพระนามเดิมและพระอิสริยยศต่อมาตามลำดับ ดังนี้

หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ให้ทรงมีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หม่อมเจ้าอานันทมหิดล ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลจึงได้ทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์เป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ทรงพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
King 004KingKingKing

สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ทรงได้รับการสถาปนามีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงสงขลานครินทร์ ได้เสด็จทรงศึกษาวิชาการแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ทรงสำเร็จวิชา แพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาลจากโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ต่อจากนั้นทรงได้รับทุนการศึกษาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไปทรงเรียนวิชาพยาบาลเพิ่มเติมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๐ ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระบรมราชชนก ขณะดำรงพระยศ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๓

เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาได้ ๑ พรรษา สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทย ครั้งนั้นได้ประทับที่วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

อีกหนึ่งปีต่อมาในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชน ทรงพระประชวร และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ในปีเดียวกัน เมื่อทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงรับพระราชภาระแห่งความเป็นแม่อย่างใหญ่หลวง เพราะ ต้องทรงอภิบาลพระโอรสธิดาองค์น้อยๆ โดยลำพังถึง ๓ พระองค์ และที่นับว่าเป็นพระราชภาระที่หนักยิ่งกว่าภาระของแม่ใดๆ ก็เพราะว่าพระโอรสธิดาที่ทรงอภิบาลรับผิดชอบนั้นต่อมาเป็นพระประมุขของประเทศถึง ๒ พระองค์ เพราะฉะนั้น การอภิบาลรักษาและการถวายการอบรมสั่งสอน จึงมีความยากและมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

พระราชจริยาวัตรในเชิงสร้างสรรค์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทรงสอนพระโอรสธิดา ให้เรียนรู้เรื่องแผนที่และการใช้แผนที่ กล่าวคือ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนเพาะช่างในสมัยนั้นจัดทำแผนที่ประเทศไทยโดยผลิตเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีกล่องไม้พร้อมฝาปิดเปิดสำหรับใส่เพื่อให้พระโอรสธิดาทั้ง ๓ พระองค์ ทรงเล่นเป็นเกมส์สนุกคล้ายการต่อรูปต่างๆ เป็นการสอนให้รู้จักประเทศไทย และรู้จักการดูการใช้แผนที่ไปพร้อมๆ กัน จึงกล่าวได้ว่าพระราชดำริสร้างสรรค์เหล่านี้ ประกอบกับคุณธรรมอีกหลายประการได้มีบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อการที่ทรงอภิบาลและฝึกสอนพระโอรสธิดา ดังจะเห็นได้ว่าพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยาวัตรอันงดงามหลายประการในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ส่งผล ไปถึงพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยาวัตรของพระโอรสธิดา อาทิ พระราชอัธยาศัยโปรดการถ่ายรูปและถ่ายภาพยนตร์ ได้สืบทอดมายังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างครบถ้วน ดังจะเคยได้เห็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ใดจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์ คือ ทรงมีแผนที่ กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบด้วย เวลาทรงงานจะทรงใช้ยางลบเสมอ เมื่อทรงพบเห็นอะไรก็จะทรงขีดเขียนบนแผนที่เช่น เดียวกับพระบรมราชชนนีที่ทรงกระทำมาก่อน บางครั้งจะทรงพบว่า ณ จุดทรงงานนั้นเป็นสถานที่บนภูเขาแต่ตามระวางของกรมแผนที่ระบุไว้ว่าเป็นธารน้ำ จึงดูคล้ายกับน้ำไหลขึ้นสูง และได้พระราชทานข้อสังเกตนี้แก่กรมแผนที่ซึ่งกรมแผนที่ได้สำรวจใหม่จึงพบว่าเป็นเรื่องผิดพลาดของเจ้าหน้าที่เอง กลายเป็นน้ำไหลกลับขึ้นที่สูง จากนั้นกรมแผนที่ได้เขียนเป็นเอกสารถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักแผนที่ผู้ชำนาญพระองค์หนึ่งด้วย

พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ พรรษา ได้เสด็จทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๑ ปี หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชไม่ทรงแข็งแรง จำเป็นต้องประทับในสถานที่ซึ่งอากาศดีและไม่ชื้นพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระปิตุลา ทรงแนะนำให้เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอลเมียร์มองต์ (Ecole Mieremont) เมืองโลซานน์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เมื่อจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลาซืออิส โรมองด์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองแชลลี ซูร โลซานน์ (Chailly-sur-Lausanne)
KingKingKing
พุทธศักราช ๒๔๘๑ ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค กังโตนาล (Gymnase Classique Cantonal) แห่งเมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ แล้วทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ได้เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ โดยเสด็จ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช หลังจากเคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยชั่วคราวครั้งที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ ครั้งหลังนี้ได้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวังจนกระทั่งถึงวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน คณะรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชในวันเดียวกัน
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชภารกิจในการศึกษาต่อ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนมิถุนายนของปีนั้นรวมเวลาที่เสด็จประทับในประเทศไทยได้ ๖ เดือน ในการทรงศึกษาต่อครั้งนี้ ทรงเลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่แต่เดิมก่อนเสด็จนิวัตประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ผู้ซึ่ง ต่อมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคลและในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ

พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิต กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเดือนต่อมา

ขอบพระคุณ แหล่งข้อมูลจาก
http://www.belovedking.com/index.php/2008-10-30-01-59-59.html