พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง - พระบรมธาตุแบบลังกา

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง -  พระบรมธาตุแบบลังกา

เสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ..คลิกตรงรูป อ่านพระประวัติโดยย่อ..

Friday 28 September 2012

เทศกาลบุญสารทเดือนสิบ (นครศรีธรรมราช)

ประเพณีสารทเดือนสิบ
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3097




ความเป็นมา
ประเพณีสารทเดือนสิบวิวัฒนาการมาจากประเพณีเปตพลีของพราหมณ์ ซึ่งลูกหลานจัดขึ้น เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาพวกพราหมณ์จำนวนมากได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาและยังถือปฏิบัติในประเพณีดังกล่าวอยู่ พระพุทธองค์เห็นว่า ประเพณีนี้มีคุณค่า เป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษนำความสุขใจให้ผู้ปฏิบัติ จึงทรงอนุญาตให้อุบาสกอุบาสิกาประกอบพิธีนี้ต่อไปได้ ประเพณีสารทเดือนสิบมีมาตั้งแต่พุทธกาลคาดว่า เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในนครศรีธรรมราชจึงรับประเพณีนี้มาด้วย ทำบุญสารทเดือนสิบเมืองคอน เป็นงานบุญเพื่อุทิศส่วนกุศล ให้บรรพบุรุษ ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ยังมีกรรมต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในอบายภูมิ ในวันสารทเดือนสิบ ยมพบาลจะปลดปล่อยให้ออกมาเยี่ยมลูกหลาน เพื่อมารับส่วนบุญกุศลที่บรรดาลูกหลาน ญาติพี่น้องทำบุญให้ มีเพียงปีละครั้ง คือในวัน แรม ๑๔ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (ซึ่งจะประมาณ ปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคม) พอถึงวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ต้องหลับไปชดใช้กรรมตามเดิม จนกว่าจะหมดเวรหมดกรรมต่อไป

•งานบุญสารทเดือนสิบ จะเริ่ม ตั้งแต่วัน แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่าวันจ่าย พ่อค้าแม่ค้าจะนำของมาขาย ที่ตลาดทุกแห่ง จะคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนมาจับจ่ายซื้อของ เพื่อเอาไปจัด หมรับ ต้องใส่ พืชผักผลไม้และที่สำคัญต้องมีขนมเดือนสิบ มีขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซัม ขนมไข่ปลา ข้าวกระยาสารท และขนมอื่นๆ ทั่วไปที่มีขายในตลาด

•วันแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันยก หมรับไปถวายวัด มีการตกแต่งกันอย่างสวยงามตามฐานะของแต่ละคน หรือหมู่คณะ มีขบวนแห่กันครึกครื้น สวยงาม มีการประกวด หมรับ เพื่อชิงรางวัล ถือเป็นงานประจำปีอันยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า "งานเดือนสิบ"

•วันแรม ๑๕ ค่ำ จะเป็นวันทำบุญอีกเป็นวันสุดท้าย เมื่อถวายเพลพระ และบังสกุลเสร็จแล้ว ก็จะเอาขนมเดือนสิบ ไปวางไว้ ตามต้นไม้ หรือกำแพงวัด แต่บางวัดได้จัดที่วางไว้ให้ โดยเฉพาะ เรียกว่าการ "ตั้งเปรต" คือให้พวกผีไม่มีญาติ ได้กิน หลังจากการตั้งเปรตและอุทิศส่วนกุศลแล้ว บุคคลทั่วไปเข้าไปแย่งชิงขนมเหล่านั้นได้ เรียกว่า "ชิงเปรต" เป็นอันเสร็จสิ้นการทำบุญสารทเดือนสิบ
ช่วงเวลา ระยะเวลาของการประกอบพิธีสารทเดือนสิบมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำถึงแรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ แต่วันที่ชาวนครศรีธรรมราชนิยมทำบุญคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ
ระยะเวลาดำเนินการ
วันแรม ๑ ค่ำ ถึงแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ แต่ชาวนครศรีธรรมราช นิยมทำบุญคือ วันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ
สำหรับการจัดงานเดือนสิบจะเริ่มตั้งแต่วันแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ถึง วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี รวม ๑๐ วัน ๑๐ คืน

พิธีกรรม
พิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบ มีดังนี้
๑. การจัดหฺมฺรับ เริ่มในวันแรม ๑๓ ค่ำ ชาวบ้านจะเตรียมซื้ออาหารแห้ง พืชผักที่เก็บไว้ได้นาน ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และขนมที่เป็นสัญลักษณ์ของสารทเดือนสิบ จัดเตรียมใส่หฺมฺรับ การจัดหฺมฺรับ คือ การบรรจุและประดับด้วยสิ่งของ อาหาร ขนมเดือนสิบลงในภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ถาด กาละมัง เข่ง กระเชอ เป็นต้น ชั้นล่างสุดบรรจุอาหารแห้ง ชั้นสองเป็นพืชผักที่เก็บไว้นาน ชั้นสามเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ขั้นบนสุด ประดับขนมสัญลักษณ์เดือนสิบ ได้แก่ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมแต่ละชนิดมีความหมายดังนี้
ขนมลา เป็นเสมือนเสื้อผ้าที่ให้บรรพบุรุษใช้นุ่งห่ม
ขนมพอง เป็นเสมือนแพที่ให้บรรพบุรุษข้ามห้วงมหรรณพ
ขนมกง เป็นเสมือนเครื่องประดับ ใช้ตกแต่งร่างกาย
ขนมบ้า เป็นเสมือนเมล็ดสะบ้า ไว้เล่นในวันตรุษสงกรานต์
ขนมดีซำ เป็นเสมือนเงินตรา ไว้ให้ใช้สอย
๒. การยกหฺมฺรับ ในวันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจะยกหฺมฺรับที่จัดเตรียมไว้ไปวัด และนำภัตตาหารไปถวายพระด้วย โดยเลือกไปวัดที่อยู่ใกล้บ้านหรือวัดที่บรรพบุรุษของตนนิยมไป
๓. การฉลองหฺมฺรับและบังสุกุล เมื่อนำหมฺรับไปวัดแล้ว จะมีการฉลองหฺมฺรับ และทำบุญเลี้ยงพระเสร็จแล้วจึงมีการบังสุกุล การทำบุญวันนี้เป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปยังเมืองนรก
๔. การตั้งเปรต
เสร็จจากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้ว ชาวบ้านจะนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณลานวัด ข้างกำแพงวัด โคนไม้ใหญ่ เรียกว่า ตั้งเปรต เพื่อแผ่ส่วนกุศลเป็นทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่มาร่วมทำบุญให้ การชิงเปรตจะทำตอนตั้งเปรตเสร็จแล้ว เพราะเชื่อว่าถ้าหากใครได้กินของเหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จะได้รับกุศลเป็นสิริมงคลแก่ตนเองบางวัดนิยมสร้างหลาเปรต เพื่อสะดวกแก่การตั้งเปรต บางวัดสร้างหลาเปรตไว้บนเสาสูงเพียงเสาเดียว เกลาและชะโลมน้ำมันเสาจนลื่น เมื่อเวลาชิงเปรตผู้ชนะคือผู้ที่สามารถปีนไปถึงหลาเปรตซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จึงสนุกสนานและตื่นเต้น
สาระสำคัญ
๑.เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ โดยรำลึกถึงคุณความดีของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
๒.เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไกลได้มาพบปะซักถามสารทุกข์สุกดิบต่อกันและได้โอกาสทำบุญร่วมกัน
๓.เป็นการเก็บเสบียงอาหารมีทั้งพืชผักอาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูปจัดนำไปถวายในรูปหมรับหรือสำรับ เพื่อที่ทางวัดจะได้เก็บรักษาไว้เป็นเสบียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน

Monday 24 September 2012

รวมพระอริยสงฆ์ในประเทศไทย



รวมพระอริยสงฆ์ในประเทศไทย จากเวปไซต์http://www.baanmaha.com/community/thread20779.html

จากพระธรรมเทศฯองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

1. ท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
2. หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
3. หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี
4. หลวงปู่ขาล ฐานวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
5. พระอาจารย์แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
6. หลวงปู่หลวง กตปุญโญ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดคีรีสุบรรพต จ.ลำปาง
7. อาจารย์เหรียญ วรลาโภ (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง) วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
8. อาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง) วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
9. หลวงปู่หลอด ประโมทิโต วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
10. หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาลภูเก็ต ) อ.เมือง จ.ภูเก็ต
11. หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
12. หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
13. พระอาจารย์สายทอง เตชธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม (ใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ ) อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
14. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
15. พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
16. พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
17. หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา (มรณภาพแล้ว)
18. พระอาจารย์เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
19. อาจารย์สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
20. อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
21. หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง จ.กรุงเทพมหานคร
22. อาจารย์พวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
23. หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
24. หลวงตาแตงอ่อน กัลป์ยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
25. หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
26. หลวงปุ่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร
27. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดเหสลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
28. หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
29. หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี
30. หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี
31. พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย
32. พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
33. พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
34. พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร วัดถ้ำพระ อ.เซกา จ.หนองคาย
35. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สำนักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
36. พระอาจรย์วิไล เขมิโย วัดถ้ำพณาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
37. หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร
38. อาจารย์อ่ำ ธัมกาโม วัดธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์
39. หลวงปู่ถวิล จ.อุดรธานี (ไม่ทราบที่อยู่และฉายาท่าน)
40. อาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสโก วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี
41. อาจารย์วันชัย วิจิตโต วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
42. หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
43. อาจารย์เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
44. อาจารย์คำแพง อัตสันโต วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
45. พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
46. หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
47. อาจารย์เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
48. อาจารย์คำแพง อัตสันโต วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
49. พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
50. ท่านฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมญาณ ) (ท่านมรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
(หลวงปู่สิม เคยปรารภให้อาจารย์มหาบัวฟัง)
51. หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก จ.สุพรรณบุรี
52. หลวงปู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า (อันนี้หนังสือไม่ชัดครับเล่มนี้เก่ามากครับ )
53. พระอาจารย์มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
54. หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
55. หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าช้าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น
56. หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์
57. คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) สำนักชีบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
58. พระอาจารย์ทุย (ปรีดา) ฉันทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย
59. พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ วัดป่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
60. พระอาจารย์สาคร ธัมวุธโธ วัดป่ามณีกาญจ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
61. พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติกาโม วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (มรณภาพแล้ว)
62. พระอาจารย์แยง สุขกาโม วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย
63. หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร
64. พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
65. หลวงปู่ผาง โกสโล วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
66. หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดบนนพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร
67. ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร(มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
68. หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
69. หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
70. หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์
71. หลวงปู่ทอง จันทสิริ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
72. หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่) บ.นาหลวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
73. หลวงปู่คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
74. พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโมวัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
75. หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
76. หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร
77. ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร

78. ท่านพระอาจารย์หลอ นาถกโรวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม(วัดถ้ำพวง วัดพระอาจารย์วัน อุตโม) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร
79. หลวงพ่อทองคำ กาญวันวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย
80. หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก) อ.เมือง จ.อุดรธานี
81. พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม ) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
82. หลวงปู่เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย
83. หลวงปู่คำพอง ขันติโก วัดป่าอัมพวัน จ.เลย
84. หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร
85. ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย
86. พระอาจารย์บุญทัน ปุญทัตโต (ท่านเพิ่งจะมรณภาพ เดือน ธค.49 ) วัดป่าสามัคคีสันติธรรม อ.ฝาง จ.ขอนแก่น
87. หลวงปู่พิศดู ธรรมจารีย์ วัดเทพธารทอง ต.พลวง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
88. หลวงปู่เนย สมจิตฺโต วัดป่าโนนแสนคำ บ.ทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร
89. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
90. ท่านพระอาจารย์อุทัย ธมฺมวโร วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
91. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร

Tuesday 18 September 2012

..มหาสากลจักรวาล.. ซึ่งภพภูมิมีจริง มีความเหมือน แตกต่าง..


มหาสากลจักรวาล  ข้อมูลจาก http://www.khunya.in.th

ความเป็นจริงทางโลก

ในสากลจักรวาลที่กว้างใหญ่ไพศาลนี้ เต็มไปด้วยความลี้ลับมหัศจรรย์มากมาย เหนือความสามารถของมนุษย์ธรรมดาทั่วไป ที่จะรับรู้ได้ นอกจากบุคคลที่มีจิตมั่นคง มีอำนาจสมาธิ จึงจะรับรู้สิ่งอัศจรรย์ที่มีอยู่ในสากลจักรวาล ที่นอกเหนือจากจักรวาลของมนุษย์เรานี้ ถ้าเรามองดูท้องฟ้าในคืนที่ปราศจากเมฆ จะเห็นดวงดาวเต็มไปทั่ว ซึ่งเป็นกลุ่มดาวขนาดเล็ก ๆ ของระบบสุริยะ (Solar System) มีความกว้าง 40,030 ปีแสง มีดาวประมาณ 109 ดวงหรือหนึ่งพันล้านดวง นับเป็นหน่วยย่อยที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับจำนวนมหาศาลแห่งสากลจักรวาล

นักดาราศาสตร์คำนวณว่า มีหมู่ดาวขนาดใหญ่อยู่ประมาณ 10 ล้านหมู่ และแต่ละหมู่มี 1 หมื่นแกแลคซี่ รวมกันแล้วมีถึง 1011 แกแลคซี่หรือหนึ่งแสนล้านแกแลคซี่ แต่ละแกแลคซี่มี 1011 ดวงดาวหรือหนึ่งแสนล้านดวง นอกจากดวงดาว ยังพบมวลสารใหญ่น้อย อีกมากมายเหลือคณานับ

ที่น่าประหลาดก็คือ ทำไมสิ่งเหล่านี้ในจักรวาลของเรา จึงอยู่กันอย่างมีระเบียบ มีการเคลื่อนไหวโคจรที่ค่อนข้างคงที่ ทำให้นักดาราศาสตร์ สามารถคำนวณระยะทาง เวลา และทิศทางของดวงดาวได้อย่างแม่นยำ การที่จะเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น การชนกัน ก็มีน้อยมาก นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ได้อธิบายและยอมรับกันว่า มันเป็นไปโดยกลไกแห่งแควนตัม (Quantum Mechanics) ได้ตั้งขึ้นเป็นทฤษฎี เมื่อ ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) และนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่ามีพลังควบคุมระหว่างกันและกันอยู่ ต่างให้แรงดึงดูด และแรงผลักที่มีดุลถ่วงกันพอดี มีผู้คำนวณว่าถ้าความพอดีนี้ ถูกกระทบกระเทือนด้วยแรงเพียงเล็กน้อย ก็จะเกิดการเสียดุล จะเกิดการโกลาหลในห้วงจักรวาลทันที พลังมหาศาลที่ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาลนี้เรียกว่า พลังคอสมิค (Cosmic Energy)

โลกใบนี้ของมนุษย์เป็นดาวเคราะห์บริวารของดวงอาทิตย์ ซึ่งได้รับรังสีรัศมีจากดวงอาทิตย์ และบางส่วนก็ได้พลังจากดาวนพเคราะห์ เช่น ดวงจันทร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพฤหัส ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ที่รับพลังจากดวงอาทิตย์แล้ว นำไปผสมกับแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และทุกสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งแร่ธาตุอัญมณีต่าง ๆ ที่สามารถดูดซับพลังคอสมิคนี้ รวมทั้งแรงสั่นสะเทือนได้ตลอดเวลา

สำหรับมนุษย์เองจะมีรังสีรัศมีจากกายในที่เรียกว่ากายทิพย์ เป็นคลื่นอนุภาคเหนือการรับรู้ของมนุษย์ในสภาพปกติ รังสีรัศมีนี้เป็นคลื่นสั่นสะเทือนจากอำนาจสมาธิจิต ที่เชื่อมโยงกับอนุภาคของจักรวาล และจะดูดซับพลังที่มีคุณค่ามหาศาลนี้ เข้าและออกจากร่างกายได้ตลอดเวลา รังสีรัศมีเหล่านี้ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะใช้เป็นพลังงาน นั่นคือพลังคอสมิค ที่มีอยู่หนาแน่นรอบตัว พร้อมที่จะพุ่งเข้าสู่ภายในกาย เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต เพื่อซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุดบกพร่อง เพื่อขจัดตัวเชื้อโรคเช่นไวรัสต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ สัตว์ และพืช นี่คือกลไกระบบของจักรวาล แห่งโลกมนุษย์ใบนี้

ความเป็นจริงทางธรรม

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ตรัสรู้ และรู้แจ้งถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ ในมหาสากลจักรวาล พระองค์ท่านได้สั่งสอนเรื่องของบาป บุญ คุณ โทษ สอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ทรงแสดงกำเนิดของสัตว์ นรก เปรต อสูรกาย ที่จะต้องไปทนทุกข์ทรมาน ตามกรรมที่ทำมาในอีกหลาย ๆ จักรวาลที่เป็นภพภูมิของสัตว์นรก ซึ่งหมายถึงจักรวาลเหล่านั้น มีแต่ความเดือดร้อน ทนทุกข์ทรมานอยู่เป็นนิจ สัตว์นรกเหล่านั้นได้แต่คร่ำครวญ ร่ำไห้ด้วยความทุกข์ ด้วยถูกไฟเผาตามทวารทั้ง 9

บางจักรวาลเต็มไปด้วยฝูงสัตว์นรก ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน ด้วยการไต่บนภูเขาเหล็กที่ร้อนแรง แล้วก็หล่นลงเบื้องล่าง ด้วยอำนาจของลมและไฟ ลงระหว่างแท่งเปลวไฟที่ร้อนแรง สัตว์นรกมีแต่ความทุกข์ที่ไม่มีว่างเว้นเลย เหตุของกรรมที่ก่อในขณะที่เป็นมนุษย์อยู่ โดยการทำลายลูกในครรภ์ของตน ไม่เชื่อในบุญบาป ไม่เชื่อว่าตายแล้วเกิด พ่อแม่ไม่มีบุญคุณ ยุยงสงฆ์ให้แตกแยก ไม่มีศีลไม่มีสัตย์ มนุษย์เหล่านี้ เมื่อถึงกาลกิริยา ก็ต้องไปเกิดในจักรวาลที่มีแต่ความทุกข์ มากน้อย ตามแต่ละจักรวาลที่ตนจะต้องไปรับกรรม

บางจักรวาลก็เป็นภพภูมิของเปรต ซึ่งเปรตเหล่านี้มีความเดือดร้อนอดอยาก หิวโหย ไม่สามารถรับบุญกุศลที่ญาติมิตรได้อุทิศให้ ต้องทนทุกข์ทรมานจนกว่าจะสิ้นกรรม เปรตบางจำพวกที่มีรูปร่างเล็ก มีอำนาจอยู่บ้าง อาศัยอยู่ในจักรวาลของมนุษย์ เช่น อยู่ตามป่าเขา ตามต้นไม้ และตามศาลที่มนุษย์ปลูกสร้างไว้ มีฤทธิ์อำนาจที่จะแสดงได้ตามสมควร ซึ่งบางครั้ง ก็ทำให้มนุษย์หลงเชื่อว่า เป็นเทพเทวดาไปก็มี และก็มีมนุษย์บางจำพวก ที่ได้รับอุบัติเหตุโดยไม่รู้ตัว ถึงแก่ความตายกะทันหัน จิต เจตสิก และกายทิพย์ไม่สามารถ ที่จะไปสู่จักรวาลอื่นตามผลกรรมที่ทำไว้ เมื่อพ้นจากกายมนุษย์ที่ตนอาศัย ก็เกิดทันทีที่เราเรียกว่า สัมภเวสี โอปาปาติกะ อยู่ในอีกมิติหนึ่งใกล้เคียงกับมนุษย์ พวกนี้บางคนเมื่อเป็นมนุษย์ มีจิตใจชั่วร้าย เมื่อตายไปหาที่เกิดใหม่ไม่ได้ หรือลงไปเสวยกรรมในจักรวาลนรก ก็วนเวียนทนทุกข์ทรมานในโลกของจักวาลนี้อยู่ พวกนี้ยังมีจิตชั่วร้าย ก็คอยกลั่นแกล้งเข้าสิงมนุษย์ ทำให้เจ็บป่วยพิกลพิการก็มีอยู่มากมาย

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงผลของบาปไว้อย่างชัดเจน สำหรับบุคคลที่เมื่อมีชีวิตอยู่ ได้ประกอบกรรมทำความชั่วร้ายไว้มากมาย ก็ต้องไปเกิดในจักรวาล ที่เรียกว่า นรก ซึ่งมีอยู่หลายแสนจักรวาล ที่มนุษย์จะต้องเสวยกรรม ในแต่ละจักรวาลตามกรรมชั่วของตน

ส่วนจักรวาลที่เรียกว่าภพภูมิที่ดีมีความสุข เป็นที่เกิดของมนุษย์ที่ประพฤติสุจริตด้วยกุศล ผู้ที่ปฏิบัติชอบ บำเพ็ญตบะ ถือศีลเจริญสมาธิ เรียกว่า จักรวาลแห่งสุคติภูมิ มี 3 ภูมิคือ

1. กามสุคติภูมิ มี 7 ภูมิจักรวาล
2. รูปาวจรภูมิ มี 16 ภูมิจักรวาล
3. อรูปาวจรภูมิ มี 4 ภูมิจักรวาล

1. กามสุคติจักรวาล

ได้แก่ มนุษย์ และสัตว์ที่บังเกิดในจักรวาลนั้น เนื่องจากเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา มีอยู่ 7 ภูมิ

มนุษย์ภูมิ 1 เทวภูมิ 6 ได้แก่

1. จาตุมหาราชิกาภูมิ
2. ตาวติงสาภูมิ
3. ยามาภูมิ
4. ดุสิตตาภูมิ
5. นิมมานรตีภูมิ
6. ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ

มนุษย์ภูมิ คือ จักรวาล เป็นที่อยู่ที่อาศัยของคนทั้งหลาย เรียกว่า ทวีปใหญ่หรือพื้นแผ่นดินทั้ง 4 ทิศ คือ

1. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือ มนุษย์ในทวีปนี้มีใบหน้ารูปสี่เหลี่ยม มีการรักษาศีล 5 มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ

1) ไม่ยึดถือเอาทรัพย์สินเงินทองเป็นของตน
2) ไม่มีการยึดถือในบุตร ภริยา สามี ว่าเป็นของตน
3) มีอายุยืน 1,000 ปี

2. ปุพพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออก ใบหน้ากลมคล้ายบาตรมีอายุยืน 700 ปี

3. อปรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตก มีใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์ อายุ 500 ปี

4. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ มีใบหน้ารูปไข่ จิตใจของมนุษย์ในทวีปนี้ มีความกล้าแข็งทั้งฝ่ายด ีและฝ่ายไม่ดี ถ้าอยู่ในฝ่ายดี ก็จะมีอายุยืนยาว สามารถบำเพ็ญบารมีสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ตลอดจนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้ มนุษย์มีชื่อว่ามีความเข้าใจ รู้ในเหตุที่ควรและไม่ควร ถ้าอยู่ในฝ่ายไม่ดี ก็จะอายุสั้น และเมื่อตายลงก็จะไปยังจักรวาลนรก อายุขัยของมนุษย์ภูมินี้มีประมาณ 80 ปี

จักรวาลของเทวภูมิทั้ง 6

1. จักรวาลแห่งภูมิเทวดาชั้นที่ 1 คือ จาตุมหาราชิกาภูมิ มีเทวดา 4 องค์

1) ท้าววธตรัฎฐิ อยู่ทางทิศตะวันออก
2) ท้าววิรุฬหก อยู่ทางทิศใต้
3) ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตก
4) ท้าวกุเวระหรือท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือ

ทั้ง 4 องค์ เป็นผู้ดูแลรักษามนุษย์ในโลกนี้ด้วย มีชื่อว่า ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ทรงปกครองดูแลมนุษย์ และเทวดาที่มีที่อยู่อาศัยดังนี้

เทวดาที่อยู่บนพื้นแผ่นดิน เรียกว่า ภูมมะเทวดา
เทวดาที่อยู่ที่ต้นไม้ เรียกว่า รุกขะเทวดา
เทวดาที่อยู่ในอากาศ เรียกว่า อากาสะเทวดา
และยังมีเทวดาในภพภูมิจักรวาลชั้นต่ำนี้ที่มีความโหดร้ายอีก 4 จำพวก ได้แก่

1. เทวดาคันธัมมะ ที่สิงสถิตอยู่ภายในต้นไม้มีกลิ่นหอม เรียกว่า นางไม้ ชอบรบกวน มนุษย์ให้เกิดอุปสรรคขัดข้อง ทำให้เกิดเจ็บป่วย ทำให้ทรัพย์สมบัติเสียหายกับมนุษย์ผู้นั้น ที่นำไม้ที่มีนางไม้ของตนอาศัยอยู่มาใช้หรือนำมาปลูกบ้านเรือน

2. เทวดากุมภัณฑ์ เป็นเทวดาที่รักษาสมบัติ เพชร พลอย รักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามนุษย์ทำล่วงล้ำก้ำเกินก็ให้โทษต่าง ๆ

3. เทวดานาค (นาคี) มีวิชาเวทมนต์คาถาต่างๆ ท่องเที่ยวอยู่ในจักรวาลของมนุษย์ บางทีก็เนรมิตเป็นคนหรือสัตว์สำแดงฤทธิ์ได้

4. เทวดายักษ์ พอใจที่เบียดเบียนสัตว์นรก เทวดา และมนุษย์

ซึ่งเทวดาทั้ง 4 ภูมินี้ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดตลอดไป

อายุโดยประมาณของเทพเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา นับได้ 500 ปีทิพย์ เทียบอายุมนุษย์ได้ประมาณ 9 ล้านปี

2. จักรวาลแห่งภูมิเทวดาชั้นที่ 2 คือ ตาวติงสาภูมิ เป็นที่อยู่ของมนุษย์ที่ทำกุศลในการสร้างถนนหนทาง ทำความสะอาดให้กับชุมชน ตั้งโรงทานเลี้ยงดูผู้คนที่อดอยาก ตั้งน้ำสะอาดให้ผู้คนได้ดื่มกิน สร้างศาลาที่พักให้ผู้สัญจรไปมา เมื่อถึงอายุขัยก็มาเกิดในชั้นที่ 2 นี้ ผู้ที่เป็นผู้นำทำการกุศลได้เกิดเป็นพระอินทร์ ผู้ที่เข้าร่วมได้บังเกิดเป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ทั้งหมด ความเป็นอยู่ของเทวดาในชั้นดาวดึงส์ หรือ ตาวติงสา ล้วนแต่เป็นผู้ผู้เสวยทิพย์สมบัติจากบุญกุศลในอดีตของตน มีความเป็นหนุ่มเป็นสาว ไม่มีความเจ็บไข้ บริโภคอาหารที่เป็นทิพย์ พร้อมทั้งวิมานเป็นที่อยู่ของตน มีรัศมีสว่างไกลถึง 100 โยชน์ และผู้ที่จะเกิดเป็นพระอินทร์ มีศักดิ์ใหญ่ในชั้นดาวดึงส์นั้นต้องประกอบด้วยคุณธรรม 7 ประการ คือ

1) เลี้ยงดูบิดามารดา
2) เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
3) มีวาจาอ่อนหวาน
4) ไม่กล่าวเท็จส่อเสียดนินทา
5) ไม่มีความตระหนี่เหนียวแน่น ใจคับแคบ
6) มีแต่ความซื่อสัตย์สุจริต
7) ระงับความโกรธได้

3. จักรวาลแห่งสวรรค์ชั้นที่ 3 ยามาภูมิ จักรวาลแห่งนี้ เป็นภูมิที่มีความสวยงามประณีตกว่าชั้นตาวติงสา จึงปราศจากความลำบากมีแต่ความสุขสำราญ มีความรื่นรมย์ที่เป็นทิพย์ มีวิมานที่งดงาม ทิพย์สมบัติและร่างกายของเทพเทวดาชั้นนี้สวยงามประณีต อายุยืนยาวกว่าชั้นตาวติงสามาก ยามาภูมินี้มีบริเวณแผ่กว้างไพศาล เสมอด้วยกำแพงจักรวาล มีวิมานอันเป็นที่อยู่ของเทพเทวดายามานี้อยู่ทั่วบริเวณ ผู้ที่ได้มาเกิดในชั้นยามานี้เป็นมนุษย์ที่ได้ประกอบกรรมดี มีใจเป็นกุศล มีใจช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยาก รักษาดูแลผู้เจ็บป่วยด้วยจิตที่เมตตา ทำทานด้วยใจบริสุทธิ์ ทำกุศลให้เจริญตลอดกาล เมื่อถึงกาลกิริยาก็จะมาเกิดในชั้นยามาจักรวาลนี้ด้วย

เทพเทวดาชั้นยามามีกำหนดอายุโดยประมาณได้ 2 พันปีทิพย์ อายุยืนกว่าเทพเทวดาในชั้นตาวติงสา 4 เท่า

4. จักรวาลแห่งสวรรค์ชั้นที่ 4 ดุสิตาภูมิ จักรวาลแห่งดุสิตาภูมินี้ เป็นภูมิสวรรค์ที่ปราศจากความร้อนใจ มีความยินดีแช่มชื่นอารมณ์ในทิพย์สมบัติของตนอยู่ตลอดเวลา เป็นสวรรค์ภูมิ เป็นที่อยู่ของเทพเทวดาที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด จากการได้เจริญสมาธิเมื่ออยู่ในภูมิมนุษย์ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายทุกพระองค์ก่อนที่จะมาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมจะเกิดอยู่ในดุสิตาภูมินี้เป็นภพสุดท้าย ฉะนั้นเทพเทวดาในชั้นนี้จึงนับว่าเป็นภูมิที่ประเสริฐกว่าเทวดาภูมิชั้นอื่น ๆ

เทพเทวดาในชั้นจักรวาลดุสิตานี้ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้ประกอบกรรมดี รักษาศีล มีจิตใจกล้าแข็งในการบำเพ็ญทาน มีสติตั้งมั่น เพียรเจริญสมาธิ ศึกษาในพระธรรม เพื่อรู้แจ้งในปัญญา ทำกุศลในพุทธศาสนาตลอด

เทพเทวดาในชั้นดุสิตา มีอายุประมาณ 4 พันปีทิพย์ อายุยืนกว่าชั้นยามา 2 เท่า

5. จักรวาลสวรรค์ชั้นที่ 5 นิมานรติภูม เป็นจักรวาลสวรรค์ชั้นที่ 5 เทพเทวดาที่เกิดในสวรรค์ชั้นนี้ มีความสนุกเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง 5 ที่ตนสามารถเนรมิตขึ้นมาได้ตามความพอใจของตน ในเทวภูมิตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ตาวติงสา ยามาและดุสิตา ทั้ง 4 ภูมิสวรรค์นี้ บรรดาเทพเทวดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ ย่อมมีคู่ครองของตนเป็นประจำอยู่มากบ้างน้อยบ้าง ตามบุญญาธิการแห่งตน แต่ในชั้นนิมานรติ ไม่มีคู่ครองประจำ เทพบุตรหรือเทพธิดาในชั้นที่ 5 นี้ เวลาใดที่ปรารถนาใคร่เสพกามคุณ เวลานั้นก็เนรมิตเทพบุตรหรือเทพธิดาขึ้นมาตามความปรารถนาและเมื่อได้เพลิดเพลินกับกามคุณสมใจแล้ว สิ่งที่เนรมิตขึ้นมาก็หายไป

นิมานรติภูมิจักรวาลนี้ อยู่เหนือจักรวาลของดุสิตาขึ้นไป เทพเทวดาที่อยู่ในชั้นนี้มีร่างกายสวยงามประณีตกว่าเทวดาชั้นดุสิตา มีอายุขัยยืนยาวกว่าเทวดาในชั้นดุสิตา 4 เท่า

6. จักรวาลสวรรค์ชั้นที่ 6 ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ เป็นจักรวาลชั้นที่ 6 เป็นภูมิที่เทพเทวดามีความสุขความเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง 5 เมื่อปรารถนาใคร่เสวยกามคุณเมื่อใด เทพเทวดาองค์อื่นรู้ใจคอยปรนนิบัติ โดยเนรมิตให้ตามความต้องการ มีผู้คอยรับใช้ให้เสวยสุขอยู่ตลอดเวลา วิมานที่อยู่ทิพย์สมบัติ ร่างกายมีความสวยงาม ประณีตมากกว่าเทพเทวดาชั้นที่ผ่านมา มีอายุยืนยาวเป็นยอดจักรวาลแห่งเทวดาภูมิทั้งหลายในจักรวาลสวรรค์

การเสวยกามคุณของเทพเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาและตาวติงสา ทั้งสองจักรวาลสวรรค์นี้ มีความประพฤติเป็นไประหว่างเทพบุตรเทพธิดาทั้งหลาย เหมือนกับความประพฤติของพวกมนุษย์
การเสวยกามคุณของเทพเทวดาชั้น ดุสิตา นั้น เพียงแต่ใช้สัมผัสมือต่อกันก็สำเร็จกามกิจ
การเสวยกามคุณขององค์เทพเทวดาชั้น นิมมานรติ มีการแลดูและส่งยิ้มให้แก่กันก็สำเร็จกามกิจ

การเสวยกามคุณของเทพเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี เพียงใช้สายตาจ้องดูกันก็สำเร็จกามกิจ แปลความว่า บรรดาเทพเทวดาทั้ง 4 ชั้นที่กล่าวมา ย่อมเสวยกามคุณด้วยการจับคู่ เช่นเดียวกับมนุษย์นั่นเอง แต่สำหรับพวกสัตว์นรกและพวกเปรตนั้น ในสองจำพวกนี้ไม่มีการเสพกามคุณกันเลย เพราะทั้งสองจำพวกนั้น ต้องเสวยทุกข์เวทนาแสนสาหัส ในจักรวาลแห่งนรก จนไม่มีเวลาที่จะนึกถึงกามคุณได้เลย

เทพเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตีมีอายุยืนยาว 1 หมื่น 6 พันปีทิพย์

เทวดานุสติ

เรื่องควรระลึกของสติแสดงไว้ 10 ประการ ในจำนวนนี้มีเทวดานุสติอยู่ประการหนึ่ง ให้ความระลึกถึงคุณของเทพเทวดาเป็นอารมณ์ของสมถะภาวนาที่ทำจิตให้สงบ ทั้งนี้เพราะเทพเทวดาทั้งหลาย ที่เกิดได้ด้วยอานิสงส์ผลบุญ 7 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล จาคะ สุตะ ปัญญา หิริและโอตตัปปะ

เมื่อมีสติระลึกรู้คุณของเทพเทวดาเป็นสมาธิ ย่อมบังเกิดเป็นกุศล มีความอิ่มเอิบใจ สามารถลดละเลิกกิเลสตัณหาลงได้

ในอังดุตตรบาลี แสดงไว้ว่า การเคารพเทพเทวดาที่สถิตอยู่ในบ้านเรือนในโบสถ์ วิหาร ในพระมหาเจดีย์ ย่อมเป็นมงคล

ในรัตนสูตร แสดงว่าผู้กระทำสักการะบูชาเทพเทวดาทั้งปวงนั้นย่อมได้รับเมตตาจิตจากท่าน

จักรวาลแห่งรูปาวจรภูมิ

จักรวาลแห่งรูปาวจรภูมิ เป็นที่เกิดของพระพรหมที่มีรูปร่างลักษณะเป็นบุคคลผู้เจริญด้วยคุณวิเศษ มีฌาน เป็นต้น

ความเจริญมี 2 ทางคือ

1.ความเจริญทางโลก ได้แก่ มีความบริสุทธิ์ด้วยอายุ วรรณ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนาสารสมบัติ
2.ความเจริญทางธรรม ได้แก่ ความเจริญของจิตใจ ตั้งอยู่ในกุศลธรรมมีทาน ศีล ภาวนา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา พรหมวิหาร 4 ฌาน อภิญญา มรรค ผล นิพพาน

สำหรับรูปาวจรพรหม มีความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม บรรดารูปพรหมทั้งหลายมีอายุยืนยาว มีผิวพรรณผ่องใส มีรังสีรัศมี กายงดงาม มีความสุขอันประณีต มีร่างกายแข็งแรง มีวิมานอันเป็นที่อยู่วิจิตรตระการตา มีบริวารติดตาม พรหมสมบัติเหล่านี้มีความประเสริฐกว่าสมบัติของเทพเทวดาในชั้นเทวภูมิทั้ง 6

จักรวาลของพรหมปาริสัชชา

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมชั้นธรรมดา ไม่มีอำนาจอิทธิฤทธิ์ เป็นบริวารของมหาพรหม

จักรวาลของพรหมปุโรหิต

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมปุโรหิต คือ พรหมผู้มีตำแหน่งฐานะสูง เป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้นำในกิจการทั้งหลายของมหาพรหม

จักรวาลของมหาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของมหาพรหม ที่มีความเจริญด้วยคุณวิเศษ โดยมีพรหมปาริสัชชาและพรหมปุโรหิตเป็นบริวาร พรหมทั้ง 3 นี้ อยู่ในพื้นที่ชั้นผู้ที่บำเพ็ญเพียรในสมาธิได้ขั้นปฐมฌาน ได้ฌานขั้นแรก มีพรหมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีท้าวมหาพรหมที่เป็นใหญ่ในปฐมฌานภูมิทั้ง 3 นั้นเพียงองค์เดียว

จักรวาลแห่งปริตตาภาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมปริตตาภาที่อยู่เหนือเบื้องบนภูมิอื่น ๆ เป็นพรหมที่อยู่ในทุติยฌานภูมิ

จักรวาลแห่งอัปปมาฌาภาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมอัปปมาฌาภา พรหมที่มีรัศมีรุ่งโรจน์หาประมาณมิได้ เป็นชื่อของพรหมที่อยู่ในทุติยฌานภูมิ

จักรวาลแห่งอาภัสสราพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมอาภัสสราที่มีรังสีรัศมีแผ่ซ่านออกมาจากกาย อาภัสสราพรหมเหล่านี้ ล้วนมีความยินดีในฌานของตนเป็นอย่างยิ่ง เต็มไปด้วยอำนาจของปิติอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จิตใจของอาภัสสรามีความผ่องใสมาก จิตรูปก็มีความผ่องใส ทำให้เห็นรัศมีแผ่ซ่านสว่างไสวออกจากกาย จากการบำเพ็ญเพียรฌานถึงทุติยฌานภูมิ

จักรวาลของปริตตสุภาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมที่มีรัศมีสวยงาม ชื่อว่า ปริตตสุภาพรหม ปฏิสนธิในในภูมิตติยฌาน

จักรวาลของอัปปมานะสุภาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมอัปปมานะสุภา โดยปฏิสนธิในตติยฌานภูมิ มีรัศมีกายสวยงาม หาประมาณมิได้

จักรวาลของสุภภิณหาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมสุภภิณหา โดยปฏิสนธิในตติยฌานภูมิ รัศมีร่างกายมีลักษณะคล้ายรัศมีของดวงจันทร์ เปล่งรัศมีรวมกันอยู่เป็นวงกลมสวยงามตลอดร่างกาย

ปริตตสุภาพรหม อัปปมานะสุภาพรหม และสุภภิณหาพรหม ทั้งสามองค์ปฏิสนธิในตติยฌานภูมิ ตั้งอยู่ในระดับเดียวกัน สำเร็จด้วยรัตนะทั้ง 7 พรั่งพร้อมด้วยวิมาน สวน สระ โบกขรณี และต้นกัลปพฤกษ์

จักรวาลแห่งเวหัปผลพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมเวหัปผลาพรหม เป็นภูมิที่มีผลไพบูลย์ พ้นจากอำนาจอันตรายใดจากผลของกุศล เป็นจักรวาลที่มีความมั่นคงไม่หวั่นไหวเป็นพิเศษ เป็นจักรวาลที่พ้นจากการถูกทำลายจาก ไฟ น้ำ ลม ฉะนั้นเวหัปผลาพรหมที่สถิตอยู่ในจักรวาลแห่งนี้จึงมีอายุขัยเต็ม 500 มหากัป ทุกองค์ไปด้วยอำนาจบารมีของปัญจมฌานกุศลที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขา

จักรวาลแห่งอสัญญสัตตาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของอสัญญสัตตาพรหม ที่มีรูปแต่อย่างเดียว อันเป็นผลของปัญจฌานกุศลเป็นไปพร้อมกับสัญญาวิราดภาวนา มีความต้องการแต่รูปอย่างเดียว

จักรวาลแห่งสุทธาวาสพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของผู้บริสุทธิ์จากกามราคะ ได้แก่ พระอนาคามี และพระอรหันต์ทั้งหลายที่ได้ปัญจฌาน

จักรวาลแห่งสุทธาวาสภูมิมี 5 ชั้น คือ อวิหาภูมิ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ และอกนิฏฐาภูมิ แต่ละภูมิจักรวาลสูงกว่ากันอีกขั้นละ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ ตามลำดับ คือ

จักรวาลแห่งอวิหาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพวกพรหมที่ยึดมั่นในสถานที่ ยึดมั่นในสมบัติของตนไม่เสื่อมถอยจนหมดอายุขัย ทิพย์สมบัติต่าง ๆ ของอวิหาพรหมเหล่านี้ย่อมบริบูรณ์อยู่เสมอตลอดอายุขัยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

จักรวาลแห่งอตัปปาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมที่มีแต่ความสงบเยือกเย็นไม่เดือดร้อนใจ บรรดาอตัปปาพรหมทั้งหลายมีความเพียรในการเข้าฌาน จึงมีแต่ความสงบไม่มีความเร่าร้อนใจ

จักรวาลแห่งสุทัสสาพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมที่มีรัศมีร่างกายที่สวยงามมาก ผู้ใดพบเห็นย่อมเกิดความสุขใจ พรหมเหล่านี้มีร่างกายผ่องใสสวยงามมาก บริบูรณ์ด้วยปราสาทจักขุ ทิพย์จักขุ ธรรมจักขุ ปัญญาจักขุ อนึ่ง ตาของพรหมสุทัสสานี้มีอำนาจเห็นไกลสุดมหาจักรวาล

จักรวาลแห่งสุทัสสีพรหม

เป็นจักรวาลที่สถิตของพรหมที่มีความบริบูรณ์ยิ่งกว่าสุทัสสาพรหมชื่อสุทัสสีพรหม มีความบริบูรณ์ด้วยจักขุทั้ง 4 มีกำลังแก่กล้ายิ่งกว่า แต่สำหรับธรรมจักขุนั้นมีกำลังเสมอกัน

จักรวาลแห่งอกนิฏฐาภูมิ

ในจักรวาลแห่งสุทธาวาสภูมิทั้ง 5 นี้ อกนิฏฐาภูมิเป็นภูมิที่สูงที่สุด เป็นที่สถิตของ อกนิฏฐาพรหม ที่ชื่อว่าเป็นพรหมที่มีคุณธรรมสูง เจริญด้วยคุณธรรม คือ ศีลคุณ สมาธิคุณ และปัญญาคุณ ยิ่งกว่ารูปพรหมในจักรวาลอื่นทั้งปวง จะไม่ไปเกิดในจักรวาลใด ๆ ในสากลจักรวาล จึงต้องปรินิพพานในจักรวาลของอกนิฏฐาภูมินั่นเอง

รายละเอียดจักรวาลต่าง ๆ ในสากลจักรวาลต่าง ๆ ในสากลจักรวาลที่แสดงโดยย่อมานี้ จากคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้ในธรรมชาติของสากลจักรวาลที่มีมากมายเหลือคณานับ ซึ่งมนุษย์ในโลกของจักรวาลนี้ได้เรียนรู้ และแน่ใจว่าไม่ใช่จะมาเกิด มาตายในโลกนี้โลกเดียว พระองค์ท่านได้แสดงถึงจักรวาลแห่งภูมิของเทพเทวดาโดยละเอียด พระองค์ท่านแสดงปฐมเทศนาในวันนั้น ก็มีลำดับถึงชั้นของเทพเทวดาจนถึงรูปพรรณ อรูปพรรณ แสดงถึงจักรวาลของอบายภูมิที่เป็นที่เกิดของมนุษย์ สัตว์ ที่กระทำบาปไว้อย่างชัดเจน ฉะนั้นเป็นที่แน่นอนว่ามนุษย์ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิดเป็นธรรมดา จนกว่าจะบำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุถึงนิพพาน

เวลาแห่งการพินาศของโลก

ก่อนถึงกาลที่โลกมนุษย์จะพินาศ จะมีเหตุเกิด 3 ประการคือ

1. โลภเหตุ ในยุคสมัยที่มนุษย์สัตว์ทั้งหลายมีสันดานหนาแน่นด้วยความโลภ มีกามราคะ ยุคสมัยนั้นโลกมนุษย์ย่อมถึงคราวต้องพินาศเดือดร้อนด้วยไฟ เพราะเหตุด้วยอำนาจราคะนั้นร้อนแรงเหมือนไฟ

2. โทสะเหต สมัยใดมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมีสันดานมากด้วยโทสะ ยุคนั้น สมัยนั้นโลกมนุษย์ย่อมถึงคราวพินาศลงด้วยน้ำ เพราะเหตุของโทสะ ย่อมกัดกร่อนจิตใจคล้ายน้ำกรดที่กัดกร่อนโลหะให้ละลายสลายตัวไป ด้วยเหตุนี้โทสะจึงร้อนแรงเหมือนน้ำกรดฉะนั้น

3. โมหะเหตุ สมัยใดยุคใดที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมีนิสัยสันดานที่มากไปด้วยโมหะ ยุคนั้นสมัยนั้นโลกย่อมถึงคราวพินาศลงด้วยลม เพราะเหตุด้วยโมหะนั้นแผ่ขยายครอบงำจิตใจมนุษย์ และสัตว์ทั้งปวงให้หลงใหลอยู่ในกองทุกข์ด้วยความหลงไม่รู้ การแผ่ขยายของโมหะมีสภาพคล้ายลม ด้วยเหตุนี้ โมหะจึงเป็นเสมือนลมกรดที่ทำลายโลกมนุษย์และสัตว์ให้พินาศลง

สรุปว่า โลกมนุษย์ในจักรวาลนี้ย่อมพินาศลงได้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ โลภะเป็นเหตุ โทสะเป็นเหตุ และโมหะเป็นเหตุ

ฉะนั้น เมื่อพุทธกาลผ่านไป 2,500 ปีแล้ว ขอให้มนุษย์ทั้งหลายจงอย่าตกอยู่ในความประมาท เพราะขณะนี้เกือบทั่วโลก ได้ประสบภัยพิบัติอย่างน่าสะพรึงกลัว บางแห่งก็ทนทุกข์ทรมาน ด้วยความอดอยากหิวโหย บางแห่งก็เจ็บป่วยล้มตายกันมากมาย

ผลต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้รับ ก็คือผลกรรมที่ทำไว้ในอดีตหรือปัจจุบัน สิ่งเลวร้ายเหล่านั้น มนุษย์ย่อมไม่พึงปรารถนาเลย แต่ทำไมไม่แสวงหาหนทาง ที่จะเดินตรงไปสู่ความสุขที่มนุษย์เท่านั้นที่จะทำได้ เตรียมพร้อมที่จะไปเกิดใหม่ ในจักรวาลที่มีแต่ความสุข สงบ รื่นรมย์ มีอายุยืนยาว นั่นคือจักรวาลแห่งสวรรค์ ที่มนุษย์ทุกคนสามารถไปเกิดได้ และบางจักรวาล ก็ยังมีการบำเพ็ญเพียรเพื่อความสิ้นสุดแห่งทุกข์ คือ นิพพาน ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

 ขอบพระคุณ ข้อมุูลจากเวปไซต์คุณย่าเยาวเรศ บุณนาค