พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง - พระบรมธาตุแบบลังกา

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง -  พระบรมธาตุแบบลังกา

เสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ..คลิกตรงรูป อ่านพระประวัติโดยย่อ..

Saturday 26 October 2013

สูตรน้ำผลไม้ที่ "ในหลวง"ทรงเสวยทุกวัน









สูตรน้ำผลไม้ที่ "ในหลวง"ทรงเสวยทุกวัน


วันก่อนได้รับเมล์จากเพื่อนๆส่งมาให้อ่านเห็นว่าเป็นประโยชน์เลยนำมาลงหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ....

เป็นสูตรน้ำผลไม้ที่ได้จากข้าหลวงประจำพระองค์ฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ นะคะ


เป็นสูตรที่ในวังกำลังนิยมกันมาก .." ในหลวง"ทรงเสวยทุกวัน ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีผิวพรรณสดใส


โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นโรคมะเร็งจะดีมากค่ะ มีคนแถวบ้านเป็นมะเร็งอายุประมาณ 80 กว่าแล้วค่ะ ต้องให้คีโม แต่ปรากฏว่าพอรับประทานน้ำผลไม้สูตรนี้ไปเป็นเวลาประมาณไม่ถึง 1 เดือน ปรากฏว่ามีผมงอกขึ้น และแข็งแรงขึ้นมาก จนหมอตกใจ ลองนำไปปั่นทานกันดูนะคะน่าจะดีต่อสุขภาพไม่มากก็น้อย

ส่วนประกอบก็ราคาไม่แพงมากด้วยค่ะ

สูตรน้ำผักผลไม้

1. แอปเปิ้ล 1 ผล
2. แครอท 1 ลูก
3. ผักสลัด (ผักกาดแก้ว) 3 ใบ
4. ตั้งโอ๋ 2 ก้าน
5. มะนาว 1 ลูก
6. น้ำเสาวรส 1/2 แก้ว (ถ้าไม่มีสดให้ซื้อน้ำเสาวรสกระป๋องก็ได้ค่ะ)
7. น้ำผึ้งแท้ 1/2 แก้ว
8. น้ำเปล่า 1-2 แก้ว แล้วแต่ความชอบ
9. ฝรั่ง 1 ผล
10. มะเขือเทศสีดา (ลูกเล็กๆ) 5 ลูก
11. น้ำตาลทรายแดง 3 ช้อนโต๊ะ


นำทุกอย่างมาปั่นรวมกันค่ะ สูตรนี้จะทำได้ประมาณ 1 ลิตร
ในกรณีที่เป็นคนป่วย ให้รับประทานวันละ 1 ลิตร


แต่ถ้าดื่มเพื่อสุขภาพเฉยๆ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ2-3 วันค่ะ

ขอบพระคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=192830

พระพิฆเนศวร์ 32 ปาง

พระพิฆเนศ 32 ปาง

ปางที่ 1 : พระบาล คณปติ (Bala Ganapati) อวตารภาคเด็ก : ปางอันเป็นที่รักของทุกคนและเด็กๆ
"โอม ศรี บาลา คณปติ ยะนะมะฮา"
เป็นพระพิฆเนศในวัยเด็ก คลานอยู่กับพื้น หรืออิริยาบทอื่นๆ เมื่อโตขึ้นจึงเปลี่ยนลักษณะ มีวรรณะสีแดงเข้มมี 4 กร
บาลคณปติ หมายถึงสีทองของพระเจ้าทรง้นอ้อย มะม่วง กล้วย และขนุนทรงูกมะขวิด แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และภาวะการเจริญเติบโต
นิยมบูชาในบ้านเรือน หรือโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เช่น โรงเรียนอนุบาลและชั้นประถม สถานรับเลี้ยงเด็ก สนามเด็กเล่น ฯลฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 2 : พระตรุณ คณปติ (Taruna Ganapati)
อวตารภาควัยหนุ่ม : ปางที่ให้คุณประโยชน์ในกิจการงาน
"โอม ศรี ตรุณะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดงอมส้มเหมือนอาทิตย์ยามแรกอรุณ มี 8ทรงข้าว ต้นอ้อย ตะบอง บ่วงบาศ งาหัก
ผลฝรั่ง ขนมโมทกะ และขนมอื่นๆ ปางนี้เป็นตัวแทนการเจริญเติบโต ความเป็นหนุ่มสาว
นิยมตั้งบูชาไว้ตามสถานศึกษา มหาวิทยาลัย หรือสถานที่ทำงานที่เต็มไปด้วยคนหนุ่มสาววัยกระตือรือร้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 3 : พระภักติ คณปติ (Bhakti Ganapati) ปางบูชาขอพระเวท เพื่อความสมบูรณ์เติมเต็มของชีวิต
"โอม ศรี ภัคดี คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีขาวบริสุทธิ์ดั่งพระจันทร์เต็มดวงในฤดูเก็บเกี่ยว มี 4ทรงมะม่วง กล้วย ลูกมะพร้าว
และถ้วยข้าวปาส(ปรุงด้วยนมสด และข้าวสาร มีรสหวาน) พระภัคติ คณปติ หมายถึงผู้ภักดีอย่างแท้จริง
บูชาเพื่อความสุขสมหวังในชีวิต หรือเพื่อหลุดพ้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 4 : พระวีระ คณปติ (Veera Ganapati) อวตารแห่งนักรบ ปางออกศึก และปราบมาร ให้อำนาจในการบริหารปกครอง และความเป็นผู้นำ
"โอม ศรี วีระ คณปติ ยะนะมะฮา
วรรณะสีแดงโลหิต มี 16 กร ทรงอาวุธ และสิ่งมงคลต่างๆคือ โล่ หอก ค้อน คทา ธงชัย จักรตรา พญางู ขวาน คันศร ลูกศร ตรีเพชร ขอสับช้าง อสูร กระบี่ ตะบอง และบ่วงบาศ พระกรเหล่านั้นกางออกประดุจรัศมีอำนาจแห่งดวงอาทิตย์
อำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 5 : พระศักติ คณปติ (Shakti Ganapati) ปางทรงอำนาจเหนือการงาน การเงิน และความรัก
"โอม ศรี ศักติ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแป้งจันทร์ มี 4 กร ประทานพรทรงมาลัย บ่าวบาศ และกรหนึ่งโอบพระชายาที่ประทับอยู่หน้าตักด้านซ้าย
รัศมีสีแดงส้ม สื่อถึงพลังอำนาจที่อยู่เหนือสรรพสิ่ง
อำนวยผลให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 6 : พระทวิชา คณปติ (Dwija Ganapati) ปางของการบุกเบิก เริ่มต้นชีวิตใหม่ เปิดกิจการใหม่
"โอม ศรี ทวิชา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีขาวมี 4 เศียร 4ทรงลูกปะคำ ไม้ครู(หรือพลอง) กาน้ำ และคัมภีร์
เป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิดใหม่ ความพากเพียร และแสวงหาวิชาความรู้
อำนวยผลให้กับผู้ประกอบกิจการต่างๆ นักธุรกิจ นักลงทุน นักสำรวจ นักบุกเบิก คนทำงานต่างแดน เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 7 : พระสิทธิ คณปติ (Siddhi Ganapati) ปางประทานความสมบูรณ์ และทรัพย์สมบัติ
"โอม ศรี สิทธิ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงช่อดอกไม้ มะม่วง ต้นอ้อย และขวาน ส่วนงวงนั้นชูขนม
คอยประทานความร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ให้กับโลก
อำนวยผลด้านทรัพย์สินเงินทอง และความอุดมสมบูรณ์
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 8 : พระอุจฉิษฏะ คณปติ (Uchhishta Ganapati) ปางเสน่หา และความสำเร็จสมปรารถนา
"โอม ศรี อุจฉิษฏะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีฟ้าเทาดุจเมฆา มี 6 กร ประทับนั่งโดยพระกรหนึ่งโอบอุ้มศักติชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย
ส่วนพระกรอื่นถือลูกประคำ ลูกทับทิม พิณ รวงข้าว และดอกบัว
อำนวยผลให้เกิดเสน่ห์ และความสำเร็จในด้านต่างๆตามแต่จะขอพร
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 9 : พระวิฆณา คณปติ (Vighna Ganapati) ปางขจัดอุปสรรค และแก้ไขปัญหา
"โอม ศรี วิฆนา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทองคำ มี 8 กร ทรงมาลัย ขวาน ดอกไม้ จักรตรา หอยสังข์ ต้นอ้อย(เป็นคันศร) บ่วงบาศ และตะบอง
อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 10 : พระกษิประ คณปติ (Kshipra Ganapati) ปางประทานพรให้สำเร็จรวดเร็ว
"โอม ศรี กษิประ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดงเข้มดุจกุหลาบ มี 4 กร เป็นผู้ให้ศีลให้พร ประทานพรให้เกิดผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว
ทรงตะบอง งาหัก บ่วงบาศ และช่อดอกไม้
อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทั่วไป ตามแต่จะอธิษฐาน
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 11 : พระเหรัมภะ คณปติ (Heramba Ganapati) ปางปกป้องคุ้มครอง
"โอม ศรี เหรัมภะ คณปติ ยะนะมะฮา
วรรณะสีขาว มี 5 เศียร 10 กร ประทับนั่งบนหลังสิงโต หมายถึง พลังอำนาจในการปกครองบริวาร กางพระกรประดุจรัศมีคุ้มกันสรรพภัย พระหัตถ์ซ้ายประทานพร พระหัตถ์ขวาอำนวยพรทรงมะม่วง ลูกประคำ ขนมโมทกะ งาหัก บ่วงบาศ ค้อน ขวาน
และพวงมาลัย บูชาเพื่อขจัดความอ่อนแอ ไร้พลัง
เป็นปางหนึ่งที่พระราชาในอินเดียนิยมบูชากันมาก อำนวยผลด้านการปกป้องคุ้มครองบริวาร การบริหาร ปกครองของผู้นำ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 12 : พระมหา คณปติ (Maha Ganapati) ปางประทานความสุขอันยิ่งใหญ่ให้ครอบครัว
"โอม ศรี มหา คณปติ ยะนะมะฮา
วรรณะสีแดง มี 10 กร 3 เนตร ประดับจันทร์เสี้ยวบนมงกุฎปางนี้ทรงอุ้มชายา คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิไว้บนตักทั้งสองข้าง
(บางตำราว่าอุ้มองค์เดียว)ทรงโถใส่อัญมณี รวงข้าว จักรตรา บ่วงบาศ ดอกลิลลี่ ต้นอ้อย (เป็นคันศร) ดอกบัว และลูกทับทิมแดง
อำนวยผลให้ครอบครัวเกิดความสมบูรณ์พูนสุข มีทรัพย์สิน และบริวารมาก
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 13 : พระวิชัย คณปติ (Vijaya Ganapati) ปางกำจัดอุปสรรค และความมืดมิด
"โอม ศรี วิชะยา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 4 กร ประทับบนตัวหนู หมายถึงการทำลาย ความมืดมิด
และอุปสรรคทั้งหลายให้หมดไปทรงะบอง ผลมะม่วง และบ่วงบาศ
อำนวยผลทางปัญญาให้กับครูบาอาจารย์ ปัญญาชน ศิลปิน นักคิด นักเขียน และช่างฝีมือทุกแขนง
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 14 : พระลักษมี คณปติ (Lakshmi Ganapati) ปางแห่งความมั่งมีศรีสุข และปรีชาญาณ
"โอม ศรี ลักษมี คณปติ ยะนะมะฮา
วรรณะสีขาว มี 8 กร เป็นเทพแห่งการให้ที่บริสุทธิ์ สีขาวหมายถึงการมีสติปัญญาสูงส่ง พระหัตถ์ทั้งสองข้างโอบอุ้มพระชายา 1 หรือ 2 พระองค์ คือพระนางพุทธิ และพระนางสิทธิ (บางตำราว่าหนึ่งในนั้นคือพระลักษมี จึงเรียกว่า ลักษมี คณปติ)
ทรงผลทับทิมแดง ช่อกัลปพฤกษ์ นกแก้ว ตะบอง บ่วงบาศ โถใส่อัญมณี และกระบี่
อำนวยผลทางด้านสติปัญญา และความมั่งมีศรีสุข
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 15 : พระนฤตยะ คณปติ (Nritya Gannapati) ปางนาฏศิลป์ เจ้าแห่งลีลาการร่ายรำ และศิลปะการแสดง
"โอม ศรี นฤตยะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีเหลืองทอง มี ๔ กร เป็นนักเต้นร่ายรำระบำฟ้อน และเป็นนักแสดงที่สร้างความบันเทิง และความสุขให้ชาวโลก ประทับยืนเข่าขวาเหยียบบนดอกบัวทรงะบอง บ่วงบาศ และขวาน
ควรตั้งบูชาในวิทยาลัยนาฏศิลป์ โรงเรียนสอนเต้นรำ บัลเล่ต์ โยคะดัดตน โรงเรียนสอนการแสดง โรงละคร โรงถ่ายทำภาพยนตร์ และสถานบันเทิงต่างๆตามความเหมาะสม
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 16 : พระอุทวะ คณปติ (Urdhva Ganapati) ปางช่วยให้สมปรารถนาในทุกสิ่ง
"โอม ศรี อุทวะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทอง มี 6 กร พระกรข้างหนึ่งโอบพระชายาไว้บนตัก ด้านซ้ายทรงถือดอกบัว
คบเพลิง ช่อดอกไม้ งาหัก ลูกศร คันศรทำจากต้นอ้อย และรวงข้าว
ในนิกายตันตระ นิยมบูชาปางนี้เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีด้านเสน่ห์ อำนวยผลให้สมปรารถนาทุกประการ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 17 : พระเอกอักษรา คณปติ (Ekaakshara Ganapati) ปางทรงอำนาจด้านพระเวท
"โอม ศรี เอกา อักษรา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 4 กร มีดวงตาที่สาม ประดับจันทร์เสี้ยวอยู่เหนือเศียร
กรหนึ่งประทานพรทรงะบอง บ่วงบาศ และผลทับทิม ประทับเหนือพาหนะคือหนู
อำนวยผลด้านป้องกันอาถรรพณ์ และคุณไสยสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ร่ำเรียนด้านพระเวท หรือสรรพศาสตร์ด้านต่างๆ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 18 : พระวระ คณปติ (Vara Ganapati) ปางแห่งความรักที่สุขสมหวัง
"โอม ศรี วะระ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 4 กร 3 เนตร มีดวงตาที่สาม อันเป็นดวงตาแห่งสติปัญญา และมีจันทร์เสี้ยวประดับเหนือเศียร กรหนึ่งโอบกอดชายาบนตักทรงชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ ที่งวงชูโถใส่น้ำผึ้ง
อำนวยผลให้สมหวังในความรัก ควรตั้งบูชาไว้ในร้านเสื้อผ้า ร้านค้าที่เกี่ยวกับการสมรส การแต่งงาน และความรัก ฯลฯ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 19 : พระตรีอักษรา คณปติ (Tryakshara Ganapati) ปางกำเนิดอักขระโอม
"โอม ศรี ตรีอักษรา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทอง มี 4ทรงะบอง บ่วงบาศ มะม่วง และมีขนมโมทกะอยู่ที่งวง
อำนวยผลด้านการเรียนพระเวท และอักษรศาสตร์
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 20 : พระกศิปะ ปรสัท คณปติ (Kshipra-Prasada Ganapati) ปางประทานทรัพย์ และความรอบรู้
"โอม ศรี กศิปะ ปรสัท คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 6 กร ท้องที่ใหญ่นั้นเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล หมายถึงความอุดมสมบูรณ์แห่งโภคทรัพย์ และความรอบรู้อันกว้างไกลทรง้นทับทิม ตะบอง บ่วงบาศ ดอกบัว และผลทับทิม
เหมาะสำหรับตั้งบูชาในสถานศึกษา มหาวิทยาลัย สถานอบรมวิชาชีพต่างๆ หรือบริษัทห้างร้านทั่วไป
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 21 : พระหริทรา คณปติ (Haridra Ganapati) ปางรวยเสน่ห์ และรวยทรัพย์
"โอม ศรี หริทรา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีเนื้อ หรือสีเหลืองอ่อน มี 3 เนตร 4ทรงะบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ ใช้อำนาจของบ่วงเพื่อร้อยรัดศรัทธาของผู้เลื่อมใส และตะบองผลักดันให้ก้าวเดินไปข้างหน้า
อำนวยผลให้ทุกคนที่อยากมีเสน่ห์ และร่ำรวย เช่น ดารานักแสดง นักดนตรี นักร้อง ดีเจ พิธีกร หรือผู้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม ซึ่งต้องใช้พรสวรรค์ และเสน่ห์ส่วนตัว
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 22 : พระเอกทันตะ คณปติ (Ekadanta Ganapati) ปางสำเร็จทุกสิ่ง
"โอม ศรี เอกทันตะ ปะระสัท คณปติ ยะนะมะฮา"

วรรณะสีฟ้า มี 4ทรงขวาน (เพื่อใช้กำจัดอวิชา)ทรงลูกประคำ (เพื่ออธิษฐาน) ผลไม้ และงาข้างที่หัก
เอกทันตะหมายถึงเทพเจ้าผู้มีงาข้างเดียว
อำนวยผลให้ประสบความสำเร็จทุกสิ่งตามแต่จะอธิษฐาน
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 23 : พระสะริสติ คณปติ (Shrishti Ganapati) ปางออกเดินทาง และสร้างสรรค์สิ่งใหม่
"โอม ศรี สะริสติ ปะระสัท คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ขี่หนูเป็นพาหนะทรงะบอง มะม่วง และบ่วงบาศ
อำนวยผลให้กับผู้ประกอบอาชีพด้านการเดินทางที่ไม่หยุดนิ่ง เช่น นักบิน สจ๊วต แอร์โฮสเตส กัปตันเรือ มัคคุเทศก์ ผู้ทำงานด้านสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆไม่หยุดนิ่งเช่น นักคิด นักเขียน นักโฆษณา นักออกแบบ เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 24 : พระอุททันตะ คณปติ (Uddanda Ganapati) ปางกำจัดภูตผี และคุณไสย
"โอม ศรี อุททันตะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี 10ทรงโถใส่ขนม หรือน้ำผึ้ง ดอกบัว ดอกลิลลี่สีฟ้า คทา ต้นอ้อย กิ่งไม้ บ่วงบาศ พวงมาลัย และผลทับทิม โดยใช้กรซ้ายโอบพระชายาอยู่ที่ตักด้านซ้าย
อำนวยผลด้านขจัดทุกข์ภัย และอาถรรพณ์ต่างๆ บันดาลให้ครอบครัวมีความสุข
-----------------------------------------------------------------------------------------
ปางที่ 25 : พระรีนาโมจัน คณปติ (Runamochana Ganapati) ปางแก้กรรม และขจัดหนี้สิน
"โอม ศรีโอมจัน คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีขาว มี 4 กร มีหน้าที่ปลดปล่อยมนุษย์ออกจากพันธนาการ คำสาป
และความผิดพลาดทั้งหลายทรงะบอง บ่วงบาศ และขนมโมทกะ
เหมาะบูชาสำหรับผู้ต้องการเปลี่ยนแปลงชีวิตใหม่ให้ดีขึ้น (พลิกดวงชะตา) แก้ไขกรรมเก่า ปลดหนี้สิน ล้างมลทินทั้งปวง
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 26 : พระตันติ คณปติ (Dhundhi Ganapati) ปางขุมทรัพย์ทางปัญญา
"โอม ศรี ตันติ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง มี ๔ทรงูกประคำ ขวาน โถใส่อัญมณี ที่แสดงขุมทรัพย์ของผู้มีพุทธิปัญญา
อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านใช้ความคิด ใช้ปัญญาสร้างสรรค์ทุกแขนง
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 27 : พระทวิมุข คณปติ (Dwimukha Ganapati) ปาง 2 เศียร
"โอม ศรี ทวิมุข คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีเนื้อ มี 2 เศียร 4ทรงะบอง บ่วงบาศ และโถอัญมณี เป็นปางที่เป็นคนที่ปรับตัวได้กับทุกคนให้ทรัพย์มาก และขจัดอวิชา
อำนวยผลให้กับผู้ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ ด้านติดต่อเจรจา ประสานงาน เป็นสื่อกลางต่างๆ นักการทูต นักจิตวิทยาที่ต้องใช้มนุษย์สัมพันธ์สูง
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 28 : พระตรีมุข คณปติ (Trimukha Ganapati) ปาง 3 เศียร
"โอม ศรี ตรีมุข คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดง หรือสีชมพูสด มี 3 เศียร 6 กร สามเศียรหมายถึง ภพทั้งสาม (สวรรค์,โอมนุษย์, บาดาล)
ปางหนึ่งประทับนั่งบนดอกบัว ทรงประทานพร พระหัตถ์ขวาประทานอภัย
พระหัตถ์ซ้ายอำนวยพร กรอื่นๆทรงถือตะบอง ลูกปะคำ บ่วงบาศ และโถใส่น้ำผึ้ง
อำนวยผลทางด้านโภคทรัพย์ มีอำนาจ และแคล้วคลาดปลอดภัย
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 29 : พระสิงหะ คณปติ (Sinha Ganapati) ปางประทับราชสีห์
"โอม ศรี สิงหะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีขาว มี 8 กร พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้ายอำนวยพรทรงช่อดอกไม้ ราชสีห์ พิณ ดอกบัว โถอัญมณี ประทับบนสิงโต (คล้ายพระเหรัมภะคณปติ) หมายถึงพลังอำนาจในการปกครองบริวาร ผิววรกายขาวเป็นสัญลักษณ์ของพลังบริสุทธิ์ หรือการหลุดพ้น
การอำนวยผลและสถานที่สำหรับตั้งบูชา เป็นดุจเดียวกับ พระเหรัมภะคณปติ และพระวีรคณปติ คืออำนวยผลให้กับองค์กรบริหารราชการแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกประเภท
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 30 : พระโยคะ คณปติ (Yoga Ganapati) ปางแห่งพระเวท หรือปางสมาธิกรรมฐาน
"โอม ศรี โยคะ คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทองคำ มี 4ทรงูกประคำ ต้นอ้อย บ่วงบาศ และขอสับช้าง เป็นปางแห่งพระเวท และการรักษาโรคภัยต่างๆ
อำนวยผลให้กับผู้เป็นอาจารย์ และนักศึกษาโยคะสมาธิแบบต่างๆ เหมาะสำหรับตั้งบูชาไว้ในสถานศึกษา
หรือบูชาไว้ใน เทวสถาน เทวาลัย โรงเรียนสอนศาสนาฮินดู ห้องพระ ห้องปฏิบัติธรรมภายในบ้าน เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 31 : พระทุรคา คณปติ (Durga Ganapati) ปางมหาอำนาจ
"โอม ศรี ทุรคา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีทอง มี 8ทรงะบอง คันศร ลูกศร บ่วงบาศ ธงชัย ลูกประคำ และขนมโมทกะ
เป็นปางที่พระราชาในชมพูทวีปนิยมสักการบูชามากปางหนึ่ง
อำนวยผลดีต่อผู้มีหน้าที่ราชการ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ฝ่ายปกครอง ผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกระดับ
-----------------------------------------------------------------------------------------

ปางที่ 32 : พระสังกตะหะรา คณปติ (Sankatahara Ganapati) ปางทำลายอุปสรรค และความเศร้าหมอง
"โอม ศรี สังกตะ หะรา คณปติ ยะนะมะฮา"
วรรณะสีแดงส้ม มี 4 กร ประทับนั่งบนดอกบัวสีแดง พระหัตถ์ขวาอำนวยพร
พระหัตถ์ซ้ายโอบชายาบนตักซ้าย ส่วนกรอื่นทรงถือชามขนม ตะบอง และบ่วงบาศ
อำนวยผลให้ครอบครัวมีความสุข หรือประสบความสำเร็จ ตามแต่จะอธิษฐาน
 
 
ขอขอบพระคุณ แหล่งข้อมูลจาก http://www.srichinda.com/index.php?mo=3&art=172756

พระราชประวัติองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (ร.9) โดยย่อ

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราชบรมนาถบพิตรเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สืบแทนสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งเสด็จสู่สวรรคาลัยโดยกะทันหัน
King 001King 002King 003

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซทท์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ พระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช” ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระฐานันดรศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์ มีพระนามเดิมและพระอิสริยยศต่อมาตามลำดับ ดังนี้

หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงได้รับการสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ให้ทรงมีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หม่อมเจ้าอานันทมหิดล ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลจึงได้ทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์เป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ทรงพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
King 004KingKingKing

สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ทรงได้รับการสถาปนามีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงสงขลานครินทร์ ได้เสด็จทรงศึกษาวิชาการแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ทรงสำเร็จวิชา แพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาลจากโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ต่อจากนั้นทรงได้รับทุนการศึกษาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไปทรงเรียนวิชาพยาบาลเพิ่มเติมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๐ ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระบรมราชชนก ขณะดำรงพระยศ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๓

เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาได้ ๑ พรรษา สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทย ครั้งนั้นได้ประทับที่วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

อีกหนึ่งปีต่อมาในเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชน ทรงพระประชวร และสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ในปีเดียวกัน เมื่อทรงพระเยาว์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงรับพระราชภาระแห่งความเป็นแม่อย่างใหญ่หลวง เพราะ ต้องทรงอภิบาลพระโอรสธิดาองค์น้อยๆ โดยลำพังถึง ๓ พระองค์ และที่นับว่าเป็นพระราชภาระที่หนักยิ่งกว่าภาระของแม่ใดๆ ก็เพราะว่าพระโอรสธิดาที่ทรงอภิบาลรับผิดชอบนั้นต่อมาเป็นพระประมุขของประเทศถึง ๒ พระองค์ เพราะฉะนั้น การอภิบาลรักษาและการถวายการอบรมสั่งสอน จึงมีความยากและมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

พระราชจริยาวัตรในเชิงสร้างสรรค์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทรงสอนพระโอรสธิดา ให้เรียนรู้เรื่องแผนที่และการใช้แผนที่ กล่าวคือ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนเพาะช่างในสมัยนั้นจัดทำแผนที่ประเทศไทยโดยผลิตเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีกล่องไม้พร้อมฝาปิดเปิดสำหรับใส่เพื่อให้พระโอรสธิดาทั้ง ๓ พระองค์ ทรงเล่นเป็นเกมส์สนุกคล้ายการต่อรูปต่างๆ เป็นการสอนให้รู้จักประเทศไทย และรู้จักการดูการใช้แผนที่ไปพร้อมๆ กัน จึงกล่าวได้ว่าพระราชดำริสร้างสรรค์เหล่านี้ ประกอบกับคุณธรรมอีกหลายประการได้มีบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อการที่ทรงอภิบาลและฝึกสอนพระโอรสธิดา ดังจะเห็นได้ว่าพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยาวัตรอันงดงามหลายประการในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ส่งผล ไปถึงพระราชอัธยาศัยและพระราชจริยาวัตรของพระโอรสธิดา อาทิ พระราชอัธยาศัยโปรดการถ่ายรูปและถ่ายภาพยนตร์ ได้สืบทอดมายังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างครบถ้วน ดังจะเคยได้เห็นการเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ใดจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์ คือ ทรงมีแผนที่ กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบด้วย เวลาทรงงานจะทรงใช้ยางลบเสมอ เมื่อทรงพบเห็นอะไรก็จะทรงขีดเขียนบนแผนที่เช่น เดียวกับพระบรมราชชนนีที่ทรงกระทำมาก่อน บางครั้งจะทรงพบว่า ณ จุดทรงงานนั้นเป็นสถานที่บนภูเขาแต่ตามระวางของกรมแผนที่ระบุไว้ว่าเป็นธารน้ำ จึงดูคล้ายกับน้ำไหลขึ้นสูง และได้พระราชทานข้อสังเกตนี้แก่กรมแผนที่ซึ่งกรมแผนที่ได้สำรวจใหม่จึงพบว่าเป็นเรื่องผิดพลาดของเจ้าหน้าที่เอง กลายเป็นน้ำไหลกลับขึ้นที่สูง จากนั้นกรมแผนที่ได้เขียนเป็นเอกสารถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักแผนที่ผู้ชำนาญพระองค์หนึ่งด้วย

พุทธศักราช ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ พรรษา ได้เสด็จทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๑ ปี หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชไม่ทรงแข็งแรง จำเป็นต้องประทับในสถานที่ซึ่งอากาศดีและไม่ชื้นพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระปิตุลา ทรงแนะนำให้เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอลเมียร์มองต์ (Ecole Mieremont) เมืองโลซานน์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เมื่อจบชั้นประถมศึกษาแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลาซืออิส โรมองด์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองแชลลี ซูร โลซานน์ (Chailly-sur-Lausanne)
KingKingKing
พุทธศักราช ๒๔๘๑ ทรงจบการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค กังโตนาล (Gymnase Classique Cantonal) แห่งเมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ แล้วทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ได้เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ โดยเสด็จ สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช หลังจากเคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยชั่วคราวครั้งที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ ครั้งหลังนี้ได้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวังจนกระทั่งถึงวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน คณะรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชในวันเดียวกัน
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชภารกิจในการศึกษาต่อ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในเดือนมิถุนายนของปีนั้นรวมเวลาที่เสด็จประทับในประเทศไทยได้ ๖ เดือน ในการทรงศึกษาต่อครั้งนี้ ทรงเลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่แต่เดิมก่อนเสด็จนิวัตประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ผู้ซึ่ง ต่อมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคลและในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ

พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทยประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิต กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเดือนต่อมา

ขอบพระคุณ แหล่งข้อมูลจาก
http://www.belovedking.com/index.php/2008-10-30-01-59-59.html

ประวัติพระนางมณีจันทร์

พระองค์หญิงมณีจันทร์

ถ้าย้อนกลับไปยุคนั้นได้...ทำไม..ใคร ๆ ก็รุมเกลียดมณีจันทร์ เพราะว่ายังไงดีนะ ก้อ..พระองค์หญิงผู้นี้เป็นใคร มาจากไหน... เป็นมอญแท้ ๆ เป็นคนนอกแผ่นดินที่มาครองหัวใจพระองค์ท่าน..มหาบุรุษชาตินักรบ..สมเด็จนเรศวรมหาราช.. แล้วอย่างนี้จะไม่ให้อิสตรีในแผ่นดินนี้รุมเกลียดได้ยังไงกัน แต่ในชาตินี้มีแต่คนอยากชื่อมณีจันทร์...เฮ้ยคนหนอคน

.พระองค์หญิงมณีจันทร์ผู้นี้...ในพระชนม์ชีพของพระองค์ท่านมีแต่ความทุกข์ยากลำบากแสนเข็ญ พระชตาชีวิตมิได้มีความแตกต่างกับองค์สมเด็จนเรศวรและพระพี่นางพระสุพรรณกัลยาเลย จะแตกต่างกันตรงความเป็นอิสระเท่านั้น แต่ก็สูญเสียแผ่นดินเช่นกัน
มณีจันทร์...เป็นพระธิดาองค์โตของกษัตริย์เจ้ามอญ มีน้องร่วมพระมารดาเดียวกันสองพระองค์ คือน้องหญิงอายุประมาณ 12 ขวบ น้องชายอายุประมาณ 9 ขวบ แต่น้องทั้งสองของพระองค์ท่านก็สิ้นชีวิตเพราะสงครามที่พม่ารุกรานแย่งชิงเมือง ส่วนพระมารดานั้นท่านเป็นเหมือนคนสองสัญชาติหรือลูกครึ่งมอญกับฮอลันดาหรืออาจจะโปรตุเกต เพราะท่านมีผิวพรรณวรรณะเหมือนลูกครึ่งฝรั่ง ผิวขาวอมชมพูสวยมาก แต่ก็สิ้นพระชนม์ตั้งแต่อายุประมาณสี่สิบกว่าเท่านั้นพร้อมพระธิดาและพระโอรสเพราะการเกิดสงครามนั้น พระองค์หญิงมณีจันทร์จึงเป็นธิดาที่ติดตามพระบิดาไปอยู่ยังเมาะลำเลิง ซึ่งการติดตามไปนั้นพระองค์ท่านอายุไล่เรียงกับสมเด็จนเรศวร คือประมาณ 14-15 ปีเท่านั้น
พระองค์หญิงมณีจันทร์นั้น แท้จริงแล้วใครจะรู้ว่า พระองค์ท่านเป็นอิสตรีที่ถูกฝึกสอนอาวุธจากพระราชบิดาคือกษัตริย์เจ้ามอญ พร้อมด้วยคณาจารย์ทางด้านการรบ รวมถึงสมเด็จพระมหาเถรคันฉ่องสังฆราชของเจ้ามอญที่บังคับพระองค์ท่านฝึกเรียนทางด้านกรรมฐาน โดยเฉพาะวิชาอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย
พระองค์หญิงถูกฝึกการรบทุกชนิด ไม่ว่าจะโหดร้ายแค่ไหนพระองค์ท่านก็ต้องทำ เมื่อกษัตริย์เจ้ามอญและนักรบมอญทั้งหลายออกรบนั้น พระองค์หญิงต้องปลอมตัวเป็นบุรุษชาติอาชาไนย ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกษัตริย์เจ้ามอญพร้อมด้วยแม่ทัพนายกองมอญและเหล่าทหารของแผ่นดินมอญ ความชาญฉลาดของพระนางนั้นหาใครเปรียบได้ยากยิ่ง ทรงกำหนดพิธีการรบให้และแผนที่เดินทัพให้กองทัพมอญ รวมถึงวิธีการรบที่เรียกว่า สงครามกองโจร หน่วยจู่โจมม้าเร็วนั้นก็มาจากแผนการรบที่ทรงวางไว้ให้กับมอญเช่นกัน

องค์สมเด็จนเรศวรฯ นั้นพระองค์ท่านทรงผิดสังเกตุตลอดเวลาที่เจอกองทัพมอญ เจ้าทหารมอญ(มณีจันทร์)ผู้นี้ทำไมถึงตัวเล็กนิดเดียว แถมร่วมรบทีไรก็ใช้เขม่าควันไฟทาหน้าจนดำปี๊ดปี๋ บางครั้งก็เอาผ้าโพกหัวพันหน้าจนเห็นแต่ดวงตา บางครั้งใบหน้านั้นก็สวยหวาน แต่บางครั้งก็ดูผิดแผกจากทหารทั่ว ๆ ไป แถมเมื่อศึกประชิดตัวทีไรทหารฝ่ายมอญก็ช่วยห้อมล้อมกันท่าพาหนีรอดทุกครั้ง ผิดสังเกตุจนพระองค์ท่านตั้งพระทัยไว้ว่าสักวันหนึ่งถ้าโอกาสมาถึง จะต้องจับตัวทหารมอญผู้นี้ให้ได้ จะได้คาดคั้นเอาความจริงว่า เป็นบุคคลสำคัญเช่นไรในกองทัพมอญ จึงได้รับการอารักขาเป็นพิเศษจากทหารฝ่ายมอญ

ความสงสัยบังเกิดขึ้นในใจขององค์สมเด็จนเรศวรฯ ตลอดเวลามา แต่โอกาสยังมาไม่ถึง จนวันหนึ่งเมื่อเหตุจะเกิด..พระองค์ท่านพาทหารออกลาดตระเวณ ในขณะเดียวกันทหารมอญพร้อมด้วยพระองค์หญิงมณีจันทร์ที่ปลอมเป็นนักรบชายก็ออกลาดตระเวณเช่นกัน องค์สมเด็จนเรศวรนั้นทรงรู้ว่าโอกาสอันดีของพระองค์ท่านมาถึงแล้ว จึงให้กองลาดตระเวณของพระองค์ท่านช่วยโอบล้อมเหล่าทหารมอญพร้อมพระองค์หญิง และกล่าวคำท้าไปยังทหารมอญผู้นั้นผู้เดียวเพื่อประดาบประลองฝีมือกัน
ส่วนพระองค์หญิงมณีจันทร์นั้นไม่อยากรับคำท้า เพราะพระองค์ตรองดูแล้วมีแต่จะเสียเปรียบ ถ้าชนะก็รอดตัวไป ถ้าแพ้ถูกจับได้ความลับ ใหญ่หลวงของพระองค์ท่านก็จะต้องถูกเปิดเผย แต่ไม่รับก็ไม่ได้เพราะถูกโอบล้อมไว้หมดแล้ว การชิงชัยกันเป็นไปด้วยความดุเดือด ไม่มีใครยอมรามือให้ใคร เพียงเพราะฝ่ายหนึ่งต้องการเปิดเผยความลับแต่อีกฝ่ายต้องการปกปิดความลับไว้ แต่ในที่สุดพระองค์หญิงก็ต้องพ่ายแพ้แก่องค์สมเด็จนเรศวรท่านด้วยกำลังของชายชาตินักรบ พระองค์หญิงถูกจับและถูกคาดคั้นเอาความจริง

มิมีวาจาใด ๆ หลุดออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์หญิงท่าน สมเด็จนเรศวรทรงกริ้วยิ่งนักที่ไม่สามารถบังคับทหารมอญผู้นี้ได้ จึงได้ออกคำสั่งให้ทหารถอดผ้าคลุมศรีษะที่พันใบหน้านั้นออก สิ่งที่ปรากฏต่อสายพระเนตรของพระองค์ท่าน คืออิสตรีที่ปลอมแปลงพระองค์เป็นบุรุษชาติอาชาไนย ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารมอญทั้งหลายเพื่อกอบกู้แผ่นดินมอญ พระองค์ท่านทรงได้แต่ตะลึง เปล่งพระวาจาได้เพียงว่า "ทำไมถึงกล้าหาญชาญชัยเยี่ยงนี้" ความรักความพึงพอใจจึงเกิดขึ้นในพระทัยของพระองค์ท่าน คงเพราะทรงเกิดมาเพื่อกันและกัน ชตาชีวิตของทั้งสองพระองค์มิได้แตกต่างกันเลย ความทุกข์ยากในน้ำพระทัยทั้งหลายมีท่วมท้นเสมอเหมือนกัน ทรงถูกยึดครองแผ่นดินเหมือนกัน ทรงตกระกำลำบากระหกระเหินระเหเร่ร่อนเหมือนนกไร้รังไม่แตกต่างกันเลย ผู้หนึ่งสิ้นชาติสิ้นแผ่นดินและต้องตกไปเป็นเชลยศักดิ์ อิสตรีผู้หนึ่งสิ้นชาติสิ้นแผ่นดินจนไร้ที่อยู่เหมือนหงส์ไร้รัง ความทุกข์ยากในน้ำพระทัยไม่แตกต่างกันเลย ชีวิตจะมีความหมายอะไรเมื่อบัลลังก์ถูกกดขี่ยึดครอง ข้าคนอาณาประชาราษฏร์ต่างได้ร้อนนอนทุกข์จากการรุกรานของพม่า ความสัมพันธ์ของอโยธยาและมอญจึงเริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้น
"กุหลาบเมาะลำเลิง"

องค์สมเด็จนเรศวรนั้น ทรงขอเข้าเฝ้ากษัตริย์เจ้ามอญเป็นการส่วนพระองค์ ทรงทูลขอพระธิดา พระองค์หญิงมณีจันทร์จากกษัตริย์เจ้ามอญ พระองค์ท่านไม่พึงประสงค์จะยกให้ แต่เมื่อตรองดูแล้วการยกพระธิดาให้แด่องค์สมเด็จนเรศวรนั้น ดีกว่าให้พระธิดาต้องตกไปเป็นสนมของกษัตริย์องค์อื่นเป็นไหน ๆ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยยกพระธิดาให้แด่องค์สมเด็จนเรศวรท่าน ความรักความสัมพันธ์ของสองแผ่นดินจึงปรากฏขึ้นนับแต่เวลานั้น

พระองค์หญิงมณีจันทร์จึงถูกส่งไปอยู่กับพระพี่นางเพื่อฝึกหัดเรียนรู้ธรรมเนียมประเพณีของสยามประเทศ ซึ่งที่พระองค์ได้ไปอยู่นั้นถูกเรียกว่า "พระตำหนักนอก" เป็นตำหนักเรือนไทยอยุธยาที่ปลูกเรียงกันเป็นแถว เป็นตำหนักที่ปลูกไว้สำหรับเจ้านางทางฝ่ายอยุธยาที่ถูกขอตัวไป ที่พระตำหนักนอกนี้เป็นเรือนไทยใต้ถุนสูงประมาณ 1 เมตร 20 เซนต์ หน้าเรือนไทยมีระเบียงกว้าง ตัวระเบียงมีทางเดินรอบ ตัวเรือนทาสีเหลืองทองทั้งหลังเหมือนสีแป้งผงขมิ้นของพม่าที่เรียกว่า ตะนาคา เหตุที่เรียกว่า พระตำหนักนอกนั้น ทั้งนี้เพราะถูกปลูกอยู่นอกวังหลวง เป็นที่จัดไว้ให้สำหรับเจ้านางฝ่ายอยุธยา ที่พระตำหนักนี้พระองค์หญิงมณีจันทร์ทรงแต่งพระวรกายเป็นสตรี แต่ไม่ทรงพระยศและเครื่องยศของเจ้าหญิงมอญ ทั้งนี้เพราะทางพม่าไม่มีใครล่วงรู้ความลับนี้ เมื่อพระองค์ท่านแต่งกายเป็นหญิง เป็นอิสตรีเต็มตัวนั้น ทรงงามมาก ผิวพรรณขาวอมชมพู พระพักตร์สวยมาก รูปร่างสมส่วน องค์สมเด็จนเรศวรจึงทรงเรียกขานพระองค์หญิงว่าทรงเป็น "กุหลาบเมาะลำเลิง" นั่นจึงเป็นที่มาของพระนามนี้ เพราะทรงเป็นพระองค์หญิงที่พลัดถิ่นไปอาศัยอยู่ยังเมาะลำเลิง

ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2f7955ed9ce81625

ประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ)

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ข้อมูลส่วนพระองค์
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒
วันพระราชสมภพ พ.ศ. ๒๐๙๘
วันสวรรคต ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
พระราชมารดา พระวิสุทธิกษัตรีย์

การครองราชย์
ราชวงศ์ ราชวงศ์สุโขทัย
ทรงราชย์ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ - ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘
ระยะเวลาครองราชย์ ๑๕ ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
รัชกาลถัดมา สมเด็จพระเอกาทศรถ
 
พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ (พระนเรศวรมหาราช)
มีพระนามเดิมว่าพระองค์ดำพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระ
ศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลกทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว) และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ รวมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษาราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจ
ของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทาง
ด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐพระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้น
ทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็
เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน

พระราชประวัติเมื่อทรงพระเยาว์กับชีวิตและการศึกษาในหงสาวดี
ตลอดระยะเวลาในวัยเยาว์ของพระนเรศวรทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช
เจ้าเมืองพิษณุโลกยอมอ่อนน้อมต่อแห่งหงสาวดี และทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชหงสาวดีไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขอพระนเรศวรไปเป็น
องค์ประกันที่หงสาวดี ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนม์มายุเพียง ๙พรรษานอกจากพระองค์แล้วยังมีองค์ประกันจากเมืองอื่น ๆ ที่เป็นเมืองขึ้นของหงสาวดีเป็นจำนวนมาก พระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงให้เหล่าองค์ประกันได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอย่างดี พระนเรศวรทรงใช้เวลา ๘ปีเต็มในหงสาวดีศึกษายุทธศาสตร์ของพม่า พระองค์ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา
ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาวต่างชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี เช่น ชาวโปรตุเกส สเปน หรือชาวพม่าเอง ทรงนำ
หลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมในการทำศึกได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ ได้แก่ การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีการรบแบบกองโจร พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การ
ดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ ความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ
และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด เนื่องจากการที่พระองค์มีชีวิตอยู่ในฐานะองค์ประกันทำให้ทรงมีความกดดันสูงจากมังกะยอชวา (พระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง) จึง
ทรงมีแรงผลักดันที่จะกอบกู้อิสรภาพให้กับบ้านเมืองของพระองค์ เช่น จากการชนไก่ของพระองค์กับมังกะยอชวา เป็นต้น รวมทั้งการเหยียดหยามว่าเป็นเชลย จากพวกพม่าด้วย

ดำรงยศเป็นพระมหาอุปราช
หลังจากที่พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๒ มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีต่อไป หลังจากนั้น พระนเรศได้หนีกลับมาไทยโดยที่บุเรงนองยินยอมด้วยอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาได้ขอไว้ โดยที่บุเรงนองยินยอม หลังจากที่พระองค์ดำกลับมากรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงพระราชทานนามให้ว่า พระนเรศวร และโปรดเกล้าฯให้เป็นพระมหาอุปราชไปปกครองเมืองพิษณุโลก ทรงปกครองเมืองอย่างดี
และทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา

การประกาศอิสรภาพ

เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมือง พร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชา คุมทัพ
รักษากรุงหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับ และหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครง
มาก และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยาราม คุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวร
เสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่อง ผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวร เคยรู้จักชอบพอกันมาก่อนกองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้ง
พระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้า ฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสาร จึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม กราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็ทรงมีพระดำริเห็นว่า
การเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยาราม และทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่อง และพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อ
พระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป
จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่า แล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ
เมื่อจัดกองทัพเสร็จ ก็ทรงยกทัพจากเมืองแครง ไปยังเมืองหงสาวดี เมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน6ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติ พระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมัชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่า
จะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทย ที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อน ให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษ ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลังฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับ จึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวง ยกติดตามกองทัพไทยมา กองหน้าของพม่าตาม
มาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว และคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ ได้มีการต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนนกสับยาว
เก้าคืบ ยิงถูกสุรกรรมา แม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดีพระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฏต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงเมืองแครง ทรงดำริว่าพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามได้มีอุปการะมาก สมควรได้รับการตอบแทนให้สมแก่ความชอบ จึงทรงชักชวน
ให้มาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยามอญ ที้งสองก็มีความยินดี พาพรรคพวกสเด็จเข้ามาด้วยเป็นอันมาก ในการยกกำลังกลับครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเกรงว่า
ข้าศึกอาจยกทัพตามมาอีก ถ้าเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา มีกองทัพของนันทสูราชสังครำตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร จะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง พระองค์จึงรีบสั่งให้พระยาเกียรติ พระยา
ราม นำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชา ที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศ ได้พระราชทานพานทอง ควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบ
การทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึก ให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา

ยุทธหัตถี
นับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชา
เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๓ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ และโปรดเกล้า ฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากหงสาวดี และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายพระราชอาณาเขตออกไป
อย่างกว้างใหญ่ไพศาลกว่าครั้งใดในอดีตที่ผ่านมา งานสงครามในรัชสมัยของพระองค์ ทั้งในดินแดนไทยและดินแดนข้าศึก ได้ชัยชนะทุกครั้ง ทรงมีพระปรีชาสามารถในการนำทัพ ทรงริ
เริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม และเปลี่ยนแนวความคิดจากการตั้งรับมาเป็นการรุก และริเริ่มการใช้วิธีรบนอกแบบการสงครามกับพม่าครั้งสำคัญที่ทำให้พม่าไม่กล้ายกทัพมารุกรานไทยอีกเลย เป็นเวลาเกือบสองร้อยปีคือ สงครามยุทธหัตถี เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๕ นั่นคือเมื่อหงสาวดีนำโดยพระมหาอุป
ราชามังสามเกียดยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง สมเด็จพระนเรศวรก็นำทัพออกไปจนปะทะกันที่หนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าจังหวัดกาญจนบุรี สมเด็จพระนเรศวรได้ทรง
กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนกระทั่งสามารถเอาพระแสงง้าวฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้างนั่นเอง

สวรรคต

พ.ศ. ๒๑๓๗ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงก็ให้พระเจ้าแปรมาตีกรุงศรีอยุธยาแต่ก็แตกทัพกลับไป พ.ศ. ๒๑๔๒ เสด็จฯออกไปตีกรุงหงสาวดี พระเจ้าหงสาวดีหนีไปเมืองตองอู กอง
ทัพอยุธยาตามไปถึงเมืองตองอูแต่ขาดเสบียง พ.ศ. ๒๑๔๗ ยกกองทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นายออกจากกรุงศรีอยุธยาไปตีกรุงอังวะ ผ่านทางเมืองเชียงใหม่ โดยแรมทัพอยู่ที่เมือง
เชียงใหม่เป็นเวลา ๑ เดือน ระดมทหารในดินแดนล้านนาสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ นาย และทรงมอบหมายให้สมเด็จพระเอกาทศรถเป็นทัพหน้าออกเดินทางไปรับไพร่พลทหารล้านนาที่
เมืองฝาง (อำเภอฝาง เชียงใหม่) หลังจากนั้นกองทัพหลวงจึงกรีฑาทัพออกจากเมืองเชียงใหม่ไปยัง เมืองนายและกรุงอังวะ ครั้นกองทัพหลวงเดินทัพอยู่ระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำ
สาละวิน ครั้นถึง เมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง อันเป็นเมืองขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเป็นเมืองอยู่ชายพระราชอาณาเขตในสมัยนั้น เมื่อปลายเดือน
๕ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๔๘ ได้เสด็จฯ ประทับแรมอยู่ ณ ตำบลทุ่งดอนแก้ว (ขณะที่กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถอยู่ที่เมืองฝางหรืออำเภอฝาง เชียงใหม่) เกิดประชวรเป็นหัวระลอกขึ้น
(บ้างว่าถูกตัวสัตว์พวกแมลงมีพิษต่อย) ที่พระพักตร์แล้วเลยเป็นบาดพิษจนเสด็จสวรรคต ณ เมืองห้างหลวง หรือ เมืองหางวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๘ ค่ำ พ.ศ. ๒๑๔๘ เรื่องวัน
สวรรคตนี้มีรายละเอียดกล่าวต่างกัน พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวว่า เสด็จสวรรคตวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ เพลาชายแล้ว ๒ บาท ปีมะเส็ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางประวัติ
ศาสตร์คำนวณแล้วตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ ในหนังสือ A History of Siam ของ W.A.R. Wood กล่าวว่าสวรรคตวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ค.ศ.
๑๖๐๕ (พ.ศ. ๒๑๔๘) พระชันษาได้ ๕๐ ปี เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี


พระราชกรณียกิจ

พ.ศ. 2113 เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. 2114 ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
พ.ศ. 2117 เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. 2121 ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2127 ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. 2127-พ.ศ. 2130 พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. 2133 ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
พ.ศ. 2135 ทรงทำสงครามยุทธหัตถี จนมังกะยอชวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. 2136 ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. 2138 และ พ.ศ. 2141 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
พ.ศ. 2148 ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงอังวะ โดยยกทัพหลวง ๑๐๐,๐๐๐ นาย ออกจากอยุธยา ไปทางเมืองเชียงใหม่ และแรมทัพในเชียงใหม่ ๑ เดือน เพื่อรอการระดมทหารล้านนา
เข้าสมทบอีก ๑๐๐,๐๐๐ คนเมื่อยกทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ มุ่งหน้าไปยัง เมืองนาย ครั้นกรีฑาทัพช่วงระหว่างเมืองเชียงใหม่กับแม่น้ำสาละวิน และไปถึงเมืองหลวง หรือเมืองห้าง
หลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ก็ทรงพระประชวรโดยเร็วพลัน เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์ และเสด็จสวรรคต ณ เมืองหลวง ตำบลทุ่งดอนแก้ว ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ
เดือน ๖ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี

สมเด็จพระนเรศวรมหาราชในวัฒนธรรมร่วมสมัย


พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรีตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภู
มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ริมหนองบัวลำภู ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น
มีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราขไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวร และค่ายทหารต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น ค่ายนเรศวร ที่จังหวัดลพบุรี ค่ายนเรศวรมหาราช ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนทางกรมตำรวจได้นำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีว่า "ค่ายนเรศวร" ด้วยเช่นกัน
ชาวไทยนิยมนำหุ่นรูปไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาวไปบนบานกับพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะเชื่อกันว่าเป็นไก่พันธุ์เดียวกับตัวที่เอาชนะไก่ชนของพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีได้
ในประเทศไทยได้มีการนำพระราชประวัติมาสร้างเป็นภาพยนตร์ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใช้ชื่อว่า มหาราชดำ ในปี พ.ศ. 2522 และครั้งที่ 2 ใช้ชื่อว่า ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ. 2550
เคยมีการสร้างละครเรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2531 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 และได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำในปีนั้นถึง 5 รางวัล[2] ภายหลังมีการนำละครเรื่องนี้มาฉายใหม่ทางช่อง สทท.11 อีกครั้ง (ประมาณ พ.ศ. 2540)
ไม้ เมืองเดิม ได้นำเหตุการณ์ในสมัยนี้ไปใช้เป็นฉากในนวนิยายเรื่อง ขุนศึก ซึ่งตัวเอกของเรื่องคือ เสมา ทหารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรซึ่งมีชาติกำเนิดเป็นช่างตีเหล็ก นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์เช่นกัน
มีการนำพระราชประวัติของพระองค์ไปเขียนเป็นหนังสือการ์ตูนอยู่หลายครั้ง เช่น มหากาพย์กู้แผ่นดิน ผลงานของมนตรี คุ้มเรือน เป็นต้น
ได้มีการสร้างตำนานสมเด็จพระนเรศวรอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งใช้ชื่อว่า กษัตริยา ควบคู่กับ มหาราชกู้แผ่นดิน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ใน พ.ศ. 2542 โดยบริษัท กันตนา จำกัด เป็นผู้ผลิตรายการ ออกฉายทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในช่วงปี พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2546



ขอขอบพระคุณ ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/lanhin2224/prawati-smdec-phra-nreswr-mharach-phraxngkh-da

ธรรมโอสถ (ผู้มีธรรมย่อมได้ทานยาอายุวัฒนะ)

พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต : ระงับทุกขเวทนาด้วยธรรมโอสถ
http://www.dlitemag.com/index.php?option=com_content&view=article&id=274:2010-11-10-14-12-17&catid=60:-lite-voyage&Itemid=59



ธรรมะสำหรับผู้ป่วยโดย พระไพศาล วิสาโล
จัดพิมพ์โดย ขจร ธนะแพสย์ และญาติมิตร
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓

http://www.visalo.org/book/dhammaSumrupPuPuay.htm

ลองเข้าไปอ่านดูตาม Link นะครับ

ขอให้ธรรมะรักษา

โพธิปักขิยธรรม 3

โพธิปักขิยธรรม 37ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ธรรมเหล่านั้น
พวกเธอทั้งหลาย พึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรม กระทำ
ให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้ จักมั่นคง ดำรงอยู่ได้ ตลอดกาลนาน.
ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่คนเป็น
อันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก, และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขทั้งแก่
เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง ? ธรรม
เหล่านั้นได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕
พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.

ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่านี้แล ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นสิ่ง
ที่พวกเธอทั้งหลาย พึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรม กระทำให้มาก
โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้ จักมั่นคง ดำรงอยู่ได้ ตลอดกาลนาน. ข้อนั้น
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่คนเป็นอัน
มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก, และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่
เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย.


เป็นคำกล่าวที่เราชาวพุทธอาจจะยังไม่เคยได้รู้ (บางท่าน) เพราะสาวกไม่ได้นำมาสั่งสอน บอกกล่าว เป็นธรรมะที่พระศาสดาได้ตรััสไว้ดังข้างต้น

มีรายละเอียดดังนี้
สติปัฏฐาน ๔
1.กาย
2.เวทนา
3.จิต
4.ธรรม

สัมมัปปธาน ๔
สังวรปธาน คือ เพียรเพื่อไม่ให้อกุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น
ปหานปธาน คือ เพียรเพื่อละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภาวนาปธาน คือ เพียรเพื่อให้กุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิด) เกิดขึ้น
อนุรักขนาปธาน คือ เพียรเพื่อความเจริญ มั่นคง บริบูรณ์ของกุศล

ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

อิทธิบาท ๔
. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

อินทรีย์ ๕
1. สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่ในอารมณ์ เป็นศรัทธาอันแรงกล้าในจิตใจ ซึ่งอกุศลไม่อาจทำให้ศรัทธานั้นเสื่อมคลายได้
2. วิริยินทรีย์ มีความเพียรเป็นใหญ่ และต้องเป็นความเพียรที่บริบูรณ์ด้วยองค์ 4 แห่งสัมมัปปธาน
3. สตินทรีย์ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบัน อันเกิดจากสติปัฏฐาน 4
4. สมาธินทรีย์การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ไม่ฟุ้งซ่าน
5. ปัญญินทรีย์ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้งเห็นจริงว่าขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาพละ ๕
๑. ศรัทธาพละ ไม่หวั่นไหวต่อความไม่มีศรัทธา

๒. วิริยพละ ไม่หวั่นไหวต่อความเกียจคร้าน

๓. สติพละ ไม่หวั่นไหวต่อการหลงลืมสติ

๔. สมาธิพละ ไม่หวั่นไหวต่อความฟุ้งซ่าน

๕. ปัญญาพละ ไม่หวั่นไหวต่อความไม่รู้

โพชฌงค์ ๗
  1. สติ ความระลึกได้
  2. ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม
  3. วิริยะ ความเพียร
  4. ปีติ ความอิ่มใจ
  5. ปัสสัทธิ ความสงบ
  6. สมาธิ จิตตั้งมั่น
  7. อุเบกขา ความวางเฉย
อริยมรรคมีองค์ ๘.๑ . สัมมาทิฐิ : ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ (คือเห็นว่า ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่และความตายเป็นทุกข์ การพลัดพรากสิ่งที่รักประสบสิ่งที่ไม่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่สมหวังสิ่งเหล่านี้ก็เป็นทุกข์ การเอาชนะความคิดดีหรือชั่วไม่ได้ปัดให้ออกจากตัวทันทีไม่ได้ก็เป็นทุกข์)
๒. สัมมาสังกัปปะ : ความดำริชอบ คือคิดออกจากกาม ไม่คิดพยาบาท และคิดที่จะไม่เบียดเบียนใคร
๓. สัมมาวาจา : วาจาชอบ คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันตะ : กระทำชอบ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ :เลี้ยงชีวิตชอบ คือ การประกอบอาชีพแต่ในทางสุจริต ไม่ผิดกฎหมายไม่ผิดศีลธรรม ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ผิดจากหน้าที่อันควร
๖. สัมมาวายามะ : ความเพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน (พยายามละอกุศลที่ยังไม่ได้ละ…อันไหนที่ละได้แล้วก็พยายามไม่ให้เกิดขึ้นอีก พยายาทำให้กุศลเกิดขึ้น…อันไหนที่มีเกิดขึ้นแล้วก็พยายามทำให้เจริญยิ่ง ขึ้น)
๗. สัมมาสติ : ระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔…กาย เวทนา จิต ธรรม (พยายามให้มีสติอยู่กับตัวเสมอ พยายามที่จะฝึกในแง่ที่จะทำให้กิเลสเบาบางลง)
๘. สัมมาสมาธิ : สมาธิชอบ (ตั้งใจมั่นชอบ) คือ เจริญฌานทั้ง ๔ (หมายถึงการเข้าสมาธิที่เป็นไปเพื่อละนิวรณ์โดยตรง คือตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป)

ขอขอบพระคุณข้อมูล จาก http://www.oknation.net/blog/buddha2600/2012/07/11/entry-2

ขอให้เจริญในธรรม และได้นิพพานสมบัติในที่สุด