พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง - พระบรมธาตุแบบลังกา

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง -  พระบรมธาตุแบบลังกา

เสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ..คลิกตรงรูป อ่านพระประวัติโดยย่อ..

Saturday 6 July 2013

วัดนางพระยา ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

ประวัติวัดนางพระยา

วัดนางพระยา ตั้งอยู่ที่ ตำบลปากนคร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีประวัติความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี ตัววัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่ต่อเชื่อระหว่างทะเลกับเมืองนครศรีธรรมราช เป็นแม่น้ำสายสำคัญทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชแต่เดิมเมื่อพันปีก่อนบริเวณวัดนางพระยามีชัยภูมิที่มี จึงได้ถูกกำหนดให้เป็นท่าเรือขนส่งสินค้า รวมทั้งเรือรบของอาณาจักรในสมัยโบราณ ฉะนั้นโดยรวมแล้ว พื้นที่แห่งนี้จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เดิม ต่อมามีกษัตริย์ในอดีตพระองค์หนึ่งสร้างวัดในพระพุทธศาสนาตามพระราชประเพณีโบราณที่สืบมา โดยได้พระราชอุทิศให้กับ
พระราชมารดา หรือที่เรียกตามภาษาถิ่นโบราณว่า "แม่เจ้าอยู่หัว" หรือ "แม่นางพระยา" ตามตำนานยังได้กล่าวถึงพระนางจันทรา นางพระยาทะเลใต้อีกด้วย โดยมีชื่อวัดว่า "วัดนางพระยา" ดังปฐมเหตุแห่งที่มาของวัดนี้ ซึ่งนัยความหมายคือ วัดของแม่เจ้าเมือง เป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระราชมารดา
ต่อมาภายหลังได้ปรากฏว่ามีการตั้งรูปของ "แม่นางพระยา" ขึ้นและผู้เฒ่าผู้แก่ได้บอกเล่าว่ามีมานานเป็นร้อยปีคู่กับวัดนางพระยา กล่าวกันว่าเป็นเทพชั้นสูงที่มีคุณธรรมและความเมตตามาก เป็นที่กล่าวขานเลื่องลือมาช้านาน ผู้สัญจรไปมาในแม่น้ำหน้าวัด หรือจะเดินทางออกทะเล เมื่อผ่านหน้าวัดนางพระยาก็ต้องยกมือไหว้ทุกครั้งเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษจวบกระทั่งปัจจุบัน

ศาลาแม่นางพระยาหลังเก่า

 
 


รูปปั้นแม่นางพระยาองค์เก่าดั้งเดิม


โดยสรุปแล้ว วัดนางพระยา เป็นวัดที่กษัตริย์สร้างและเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของแม่นางพระยามารดาของเจ้าเมือง อันเป็นที่เคารพกราบไหว้ของคนนครฯ มาหลายชั่วอายุคน

ตามประวัติที่ได้บันทึกและเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ชาวนครศรีธรรมราชที่สนใจเรื่องตำนานการสร้างหลัก เมืองนครศรีธรรมราช โดยเมื่อปี พ.ศ.2528 ได้มีนายตำรวจใหญ่ท่านหนึ่งได้ย้ายมารับราชการที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและได้รับคำบอกกล่าวแนะนำจากผู้เคารพนับถือว่า ทางทิศตะวันออกของเมืองนครศรีธรรมราชมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ โดยจะยกบทความอ้างอิง ซึ่งเขียนโดยคุณสุวัฒน์ เหมอังกูร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับจตุคามรามเทพดังนี้

           "ประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่แห่งเมืองนครศรีธรรมราชที่ต้องจารึกไว้อีกครั้งหนึ่งก็คือ การสร้างหลักเมือง เพื่อเป็นหลักชัย เป็นศูนย์รวมใจ สร้างความสามัคคีในหมู่ประชาชน เรื่องนี้เริ่มต้นขึ้นที่วัดเล็กๆ วัดหนึ่งนอกเมืองนครศรีธรรมราช เป็นวัดที่ไม่ได้มีถาวรวัตถุมากมายใหญ่โตเหมือนกับวัดในเมือง ดูไปแล้วค่อนข้างจะเก่าและขาดแคลนมีโบสถ์และศาลาเล็กๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่อยู่รอบๆ ได้มาทำบุญปฏิบัติศาสนกิจ สิ่งสำคัญที่เป็นศูนย์รวมของชาวบ้านแถบนั้นคือศาลเล็กๆ หลังหนึ่งที่ตั้งอยู่
ภายใตวัด เรียกกันว่า "ศาลแม่นางพระยา" ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับวัด คือ วัดนางพระยา ณ ศาลแห่งนี้ประชาชนแถวนั้นให้ความเคารพนับถือกันอย่างมากเพราะมีการประทับทรงช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนในการดำรงชีพ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ที่เข้าไปมักเป็นคนที่มีฐานะไม่ร่ำรวยมีปัญหาต่างๆ ไปให้แม่นางพระยาช่วย คนที่เข้าไปทำบุญถวายปัจจัยให้วัดจึงมีน้อย

           เหตุการณ์ที่วัดนางพระยา เมื่อนายตำรวจใหญ่เดินทางไปที่วัดได้เล่าว่าขณะนั้นตัวท่านเองก็ไม่แน่ใจเรื่องการทรงเกรงว่าจะมีการหลอกลวงกันขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ถ้ามาถูกหลอกโดยชาวบ้านแบบนี้ก็คงเสียชื่อแน่ ท่านจึงระมัดระวังตัวพร้อมกับเดินขึ้นไปพบ เมื่อไปถึงเทพนางพระยาที่ประทับในร่างทรง ก็ทักขึ้นด้วยเสียงดังว่า
"โอ้โฮ! รอมาเป็นพันปีแล้ว" ท่านนึกในใจว่า นี่จะมาใช้จิตวิทยาอะไรกับท่านและด้วยประสบการณ์ ที่ผ่านมาเรื่องราวแบบนี้มามากมายประกอบกับจิตใจเข้มแข็ง ไม่กลัวอะไร ท่านจึงเดินเข้าไปนั่งคุยใกล้ๆ จุดบุหรี่แล้วจี้ไปที่ขาที่แขนของคนทรง ปรากฏว่าร่างทรงไม่แสดงอาการสะดุ้งสะเทือนแต่ประการใด ถึงขนาดนั้นท่านก็ยังแสดงอาการไม่ค่อยเชื่ออยากจะทดลองทดสอบให้มากกว่านั้น แต่เนื่องจากชาวบ้าน อยู่กันเต็มไปหมด จึงไม่อยากทำอะไรที่ชาวบ้านจะมองว่าเป็นการดูหมิ่นหรือไม่เคารพเทพที่
พวกเขานับถือ จึงได้แต่ถามไปว่า เรียกผมมามีธุระอะไร? แม่นางพระยาเห็นว่าท่านไม่เชื่อถือและไม่มั่นใจว่าเป็นการเข้าทรงจริง จึงได้แสดงให้เห็นว่าท่านไม่ได้หลอกลวง โดยการไล่เรียงบรรพบุรุษและดวงดาวต่างๆ ในดวงของท่าน ให้ฟังปรากฏว่าถูกต้องทุกอย่างสร้างความประหลาดใจให้กับท่านเป็นอย่างมาก เพราะร่างทรงก็คอชาวบ้านธรรมดามารู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับตัวท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดวงดาวต่างๆ ในดวงชะตาของท่านนี้น่าจะเป็นข้อพิสูจน์ได้ประการหนึ่งว่า จะเป็นการทรงจริงและผู้ที่มาเข้าประทับทรง ต้องไม่ใช่เจ้าหรือเทพธรรมดา จะต้องเป็นเทพที่มีความรู้ในเรื่องของโหราศาสตร์เป็นอย่างดี จึงตกลงใจที่จะพูดคุยกันอย่างเป็นงานเป็นการคำตอบที่ท่านได้รับ สร้างความแปลกใจให้ท่านเป็นอย่างมากนั่นคือ แม่นางพระยาขอให้ท่านช่วยดำเนินการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช พร้อมทั้งพูดถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองนครฯ รวมทั้งเรื่องของดวงเมืองนครศรีธรรมราช ที่ท่านได้ศึกษาพบในจดหมายเหตุปูมโหรพร้อมกล่าวว่าท่านเองก็ทราบดีอยู่แล้วว่าเมืองนครฯ ถูกสาปและมีดวงเมืองเก็บไว้อยู่ นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ตอกย้ำให้ท่านฉงนว่าแม่นางพระยาทราบได้อย่างไรว่าท่านมีดวงเมืองนครฯที่ถูกสาปนี้อยู่และเมื่อได้ฟังเรื่องทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านศึกษาค้นคว้า จนมีความรู้ทางด้านอย่างแตกฉาน ทำให้ท่านสงสัยว่าแม่นางพระยา ในร่างทรงคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับต้นตระกูลของเจ้าพระยานคร ท่านจึงได้สอบถามเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของเจ้าพระยานคร แม่นางพระยากลับตอกว่าอยากรู้ก็ไปถามลูกหลานของเขาซิ นั่นแสดงว่าแม่นางพระยาไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรตามที่ท่านสงสัยถาม จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นยุคเก่ากว่านั้นขึ้นไปอีก แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นยุคใดแน่ ซึ่งท่านได้เก็บความสงสัยไว้ไม่ได้สอบถามไป เพียงแต่บอกว่า ท่านเป็นตำรวจไปสร้างหลักเมืองไม่ได้หรอก งานนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครอง ทางแม่นางพระยาก็ยืนยันว่าต้องเป็นท่านคนเดียวเท่านั้นที่สร้างได้ เมื่อยังหาข้อยุติไม่ได้ประกอบกับชาวบ้านรออยู่ เมื่อทราบว่าท่านคือผู้กำกับก็แตกฮือออกไป แต่ยังด้อมๆ มองๆ อยู่ห่าง ท่านเกรงว่าจะรบกวนเวลาของชาวบ้านและมีความศักดิ์สิทธิ์จริงก็ช่วยให้พวกเขาร่ำรวยมีเงินมีทองกันมากๆ แม่นางพญาจึงบอกด้วยเสียงดังๆ ว่า อยากรวยให้ไปดูที่ศาลา จากนั้นทางท่านคิดอยู่ตลอดเวลาถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้ประสบมาโดยไม่ได้ได้คาดหมาย พร้อมกับคิดทบทวนถึงการโดยไม่เสียงานบ้านเมือง
ซึ่งเรื่องราวของดวงเมืองของนครศรีธรรมราชที่ลักษณะดังคำสาปที่ท่านเก็บไว้และติดใจท่านอยู่ตลอดเวลามาพ้องต้องกันพอดีกับคำพูดบอกกล่าวของแม่นางพระยา นี่! น่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คิดได้ว่า การเข้าประทับทรงดังกล่าวไม่ใช่เป็นการหลอกลวง เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะมาหลอกให้สร้างหลักเมือง จะต้องเป็นเรื่องที่มีเหตุผลลึกซึ้งและน่าจะต้องติดตามสืบสาวราวเรื่องให้กระจ่าง*
(* หมายเหตุ: ได้ขออนุญาตต่อคุณสุวัฒน์ ผู้เขียนบทความลงในนิตยสารพระเครื่อง เพื่อนำมาเผยแผ่ให้ประชาชนได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับวัดนางพระยา)


ศาลาแม่นางพระยาหลังใหม่ที่ก่อสร้างอยู่
พระครูสันติพัฒนาการเจ้าอาวาสวัดนางพระยา
ประกอบพิธีบวงสรวงที่ศาลหลักเมือง ในการ
ซ่อมแซมบูรณะศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
ให้มีความสง่างาม

บทสรุป
จะเห็นได้ว่าจากบทข้อเขียนนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัดนางพระยาและแม่นางพระยาได้เป็นอย่างดีทั้งยังมีเรื่องราวอีกหลายอย่างที่มิสามารถ กล่าวอ้างหรือเปิดเผยได้แต่เรื่องการกำเนิดตำนานการสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชหรือกำเนิดจตุคามรามเทพนั้นจุดเริ่มต้น ทั้งหมดอยู่ที่วัดนางพระยาแห่งนี้แน่นอน มีบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ในเหตุการณ์รู้เห็นหลายคนด้วยกันที่สามารถสอบถามได้ แม้ว่าการบอกเล่าต่อมาภายหลังจะแตกแขนงออกไปก็ตาม จึงควรที่จะได้มีการบันทึกเรื่องหลัก ๆ ไว้ให้ผู้ที่สนใจได้รับทราบข้อมูลในเบื้องต้นบ้างตามควร ซึ่งการทรงจตุคามรามเทพนั้นเป็นเรื่องภายหลัง แต่ก็ตรงกันในการสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช

วัดนางพระยาวันนี้
แต่เดิมหลายสิบปีอยู่ในสภาพเป็นวัดเล็กๆ เสนาสนะต่างอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม มาเมื่อเรื่องราวของจตุคามรามเทพโด่งดังไปทั่วประเทศ จึงทำให้วัดนางพระยาได้รับการกล่าวถึง มีผู้ที่เคารพกราบไหว้ได้เดินทางมาสักการะแม่นางพระยากันไม่ขาดสายด้วย ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ มิอาจปฏิเสธได้ ได้มีการสร้างศาลาแม่นางพระยาหลังใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม จากการสร้างวัตถุมงคลรุ่นกำเนิดจตุคามมอบให้กับผู้มีจิตศรัทธาและครั้งนี้มีผู้มีจิตศรัทธาจากประเทศมาเลเซียได้เล็งเห็นคุณค่าของวัดนางพระยาจึงได้พาคณะมาดำเนินการหล่อรูปองค์จตุคามรามเทพขนาด 1 เมตร เอาไปประดิษฐาน ที่เมืองอิโป ประเทศ
มาเลเซีย ให้ประชาชนได้กราบไหว้ ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดี แสดงให้เห็นถึงการเผยแผ่บารมีขององค์จตุคามรามเทพ บารมีของแม่นางพะยาและเมืองนครศรีธรรมราช ออกไปสู่ประชาชนทั้งในและต่างประเทศ และในโอกาสนี้จึงได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์วิหาร จตุคามรามเทพโดยเฉพาะเป็นแห่งแรกของเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงในตำนสนจตุคามรามเทพและพัฒนาวัดนางพระยาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของนครศรีธรรมราช ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ทั้งนี้ก็คงต้องพึ่งบารมีแม่นางพระยาและองค์จตุคามรามเทพ ได้ชักนำผู้มีจิตศรัทธา ผู้เคารพนับถือจากทั่วทุกสารทิศได้มาร่วมกุศลสร้างวิหารจตุคามรามเทพและองค์จตุคามรามเทพเพื่อประดิษฐานภายในวิหารต่อไป



ขอขอบพระคุณ ข้อมูลอ้างอิงจาก www.siristore.com
 

No comments:

Post a Comment