พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง - พระบรมธาตุแบบลังกา

กษัตริย์ชาวพุทธตัวอย่าง -  พระบรมธาตุแบบลังกา

เสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ..คลิกตรงรูป อ่านพระประวัติโดยย่อ..

Friday 21 June 2013

ถ้ำพระยานคร จ.ประจวบคีรีขันธ์ (ในอดีตถูกค้นพบโดยเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช)

ถ้ำพระยานคร

ถ้ำพระยานคร ถ้ำพระยานครเป็นถ้ำขนาดใหญ่ในบริเวณแหลมศาลา เพดานถ้ำมีปล่องให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ด้านล่างเป็นป่า ต้นไม้ค่อนข้างสูงชะลูด ถ้ำพระยานครถูกค้นพบกว่า 200 ปีมาแล้ว โดยพระยานครผู้คลองเมืองนครศรีธรรมราชแต่ไม่ทราบนาม ขณะที่ขึ้นฝั่งมาหลบพายุภายในถ้ำ
ภายในถ้ำมีโบราณสถานที่สำคัญคือพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เป็นพลับพลาจตุรมุข สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2433 พระที่นั่งนี้ใช้เป็นตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปัจจุบัน
ต่อมาพระบาทสมเด็จประปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เสด็จมาที่ถ้ำพระยานคร ในปี พ.ศ.2469 ซึ่งมีลายพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์อยู่ที่ผนังถ้ำ
และรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาสเยือน 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2501 และเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2524
 


"ถ้ำพระยานคร" เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ห่างจากหาดแหลมศาลาประมาณ 500 เมตร และห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ไปทางทิศเหนือประมาณ 17 กิโลเมตร ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปที่ถ้ำได้สองทาง คือ ทางเรือ โดยเช่าเรือจากหมู่บ้านบางปู ราคาประมาณ 300 บาทต่อลำ นั่งได้ประมาณ 7 – 8 คน ใช้เวลาเดินทางอ้อมเขาประมาณ 20 นาที (ประหยัดแรงดี) หรือจะเดินเท้าข้ามเขาเทียนที่มีระยะทางประมาณ 530 เมตร (เหนื่อยหน่อย แต่ก็สนุก กินลม ชมวิวเพลิน ๆ กับบรรยากาศแสนดี) เหมาะกับผู้ที่มีพละกำลังเหลือเฟือ
ถ้ำพระยานคร

ถ้ำพระยานคร

ถ้ำพระยานคร

ฮึบ!! หลังจากข้ามเขามาแล้ว ก็จะมาถึงทางเดินเท้าเพื่อไปขึ้นถ้ำพระยานคร ระหว่างทางมีบ่อน้ำกรุด้วยอิฐดินเผารูปสี่เหลี่ยมคางหมู กว้าง 1 เมตร ลึก 4 เมตร เรียกว่า "บ่อพระยานคร" ตามประวัติเล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าพระยานคร ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชได้แล่นเรือผ่านทางเขาสามร้อยยอด และเกิดพายุใหญ่ไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงจอดพักเรือหลบพายุที่ชายหาดแห่งนี้เป็นเวลาหลายวัน และได้สร้างบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่ม



สำหรับทางขึ้นถ้ำนั้นก็ค่อนข้างสะดวก ระยะทางประมาณ 430 เมตร อาจจะดูน้อยๆ แต่พอขึ้นจริงๆ แล้วเหนื่อยเอาการทีเดียว (หอบแฮ่กๆ เลย) แต่ก็มีป้ายเตือนบอกนักท่องเที่ยวว่า "ท่านผู้มีโรคประจำตัว กรุณาพิจารณาก่อนขึ้น" เพื่อความปลอดภัย ระหว่างเดินเท้าขึ้นถ้ำ จะมีจุดหยุดพักชมวิว (แต่เป็นจุดพักเอาแรงสำหรับพวกเรา อิอิ) จากจุดนี้สามารถชมทิวทัศน์บริเวณรอบ ๆ ได้






บนเพดานถ้ำมีปล่องให้แสงสว่างลอดเข้ามาได้ มองขึ้นไปข้างบน จะเห็นสะพานหินอยู่ทางปากปล่อง เรียกว่า "สะพานมรณะ"
ถ้ำพระยานคร

ถ้ำพระยานคร

ถ้ำพระยานคร

"พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์" เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2433 เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ทรงสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ แล้วส่งมาประกอบทีหลัง โดยให้พระยาชลยุทธโยธินเป็นนายงานก่อสร้าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมายกช่อฟ้าด้วยพระองค์เอง

ที่กำแพงหินด้านขวามีพระปรมาภิไธยย่อในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7 เป็นตัวหนังสือใหญ่สีขาวสะดุดตา อย่างไรก็ตาม พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์นับเป็นจุดเด่นของถ้ำพระยานคร และเป็นตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันอีกด้วย
ถ้ำพระยานคร


การเดินทางเพื่อไปอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด

รถยนต์ : จากถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ถึงสี่แยกปราณบุรีเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายปราณบุรี - ปากน้ำปราณบุรีประมาณ 8 กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาไปประมาณ 16 กิโลเมตร ผ่านสี่แยกบ้านบางปู ตรงไป 4 กิโลเมตร ถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายอีกครั้งไปอีก 5 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด หรือ จากถนนเพชรเกษม จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 286 (ใกล้บ้านสำโหรง ก่อนถึงอำเภอกุยบุรี 6 กิโลเมตร) เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด

รถโดยสารประจำทาง : ลงรถที่อำเภอปราณบุรี แล้วต่อรถสองแถวสายปราณบุรี - บ้านบางปู จากบ้านบางปูเหมารถสองแถวไปส่งที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด

รถไฟ : ขบวนรถไฟธนบุรี - ประจวบคีรีขันธ์ หรือ ธนบุรี - หลังสวน ลงรถที่สถานีรถไฟสามร้อยยอด ต่อรถสองแถวสายปราณบุรี - บ้านบางปู (ขึ้นรถได้ที่หน้าสถานีรถไฟ) เมื่อถึงบ้านบางปูหารถเช่าไปอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
 
ขอบพระคุณข้อมูลอ้างอิงจาก www.travel.kapook.com
 

ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5

ปัญจวัคคีย์ ก็คือ กลุ่มนักบวช
มีโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัชสชิ

แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา

โกณฑัญญะนั้นเชื่อมั่นในพระพุทธองค์ว่าจะได้ตรัสรู้เพราะท่านได้รับเชิญเข้าวัง เพื่อทำนายลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ(ก็คือพระพุทธเจ้า) พรามณ์ทั้ง ๗ ก็ทายเป็นสองนัย ๆ แรกคือ ถ้าอยู่ครองฆราวาสวิสัยก็จักได้เป็นราชาที่ยิ่งใหญ่ นัยที่สอง ก็คือ หากออกบวชจักได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

มีท่านโกณฑัญญะผู้เดียวที่ทายนัยที่สองอย่างเดียว ตั้งแต่นั้นมาก็รอคอยถึง 30 กว่าปี ซึ่งตอนนี้ท่านโกณฑัญญะก็ชรามากแล้ว เมื่อพระพุทธองค์บำเพ็ญทุกขกิริยา(ทรมาณตนตามแบบนักบวชในสมัยนั้น) ก็มาคอยปรนนิบัติอุปัฏฐากพระองค์จน เมื่อพระองค์แน่ใจแล้วว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้ไม่เป็นการบรรลุธรรมแน่นอนเลยเลิกทรมาณตนหันมาฉันอาหาร เพื่อให้ร่างกายมีกำลัง ฝ่ายปัญจวัคคีย์เมื่อเห็นพระองค์กลับมาฉันอาหารก็คิดว่าพระองค์ทรงล้มเลิกแล้วก็เลยหมดศรัทธาพากันหนีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

ฝ่ายพระพุทธองค์ก็เร่งทำความเพียรแบบใหม่คือ การพิจารณาลมหายใจคืออาณาปานสติ ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ มาฆะปุณณมี พระองค์ก็ได้ตรัสรู้คือ อริสัจ๔คือ ความจริงอันประเสริฐ เมื่อตรัสรู้แล้วก็พิจารณาธรรมที่พระองค์รู้ว่าเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งมากยากที่คนจะเข้าใจได้ง่ายๆ ทรงคิดถึงอาจารย์คนแรกแต่ก็ตายแล้วก็เลยนึกถึงกลุ่มปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เพราะเคยได้รับใช้พระองค์    

ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน พระพุทธองค์ทรงรู้ถึงวาระจิตของโกณฑัญญะว่าได้เข้าใจธรรมแล้วก็ดีใจเปล่งอุทานเบา ๆ ว่า"อัญญาสิ วตโภโกณฑัญโญ แปลว่าโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ นับแต่นั้นมาชื่อของท่านก็มีคำนำหน้าคือ อัญญาโกณฑัญญะ

โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู เรียกว่า มีราตรีนาน คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใคร และได้บวชก่อนผู้อื่นในพระพุทธศานา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทาน ปกิณณกเทศนา สั่งสอนที่เหลืออีก 4 ท่าน ให้บรรลุโสดาบันแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้
ชื่อวันที่ได้ธรรมจักษุ
วัปปะวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8
ภัททิยะวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8
มหานามะวันแรม 3 ค่ำ เดือน 8
อัสสชิวันแรม 4 ค่ำ เดือน 8
ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์ 5 มีดังนี้
  1. รูป คือ ร่างกาย
  2. เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ความทุกข์
  3. สัญญา คือ ความจำมั่นหมาย
  4. สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง
  5. วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ต่างๆ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเขา สิ่งเหล่านี้มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา
พระพุทธเจ้า
 
ขณะสดับพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป

ท้าวจตุโลกบาล

ประวัติท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่
ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่

เป็นเทวดาที่รักษาทุกข์ สุข ของมนุษย์โลกไว้ทั้ง 4 ทิศ และทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่มนุษย์โลกทั้งหลาย ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 องค์ประกอบด้วย

1.ท้าวธตรฎฐ์ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันออก รูปร่างสูงโปร่งและสูงกว่าทุกๆองค์ใน4ท้าวจตุโลกบาลมีผิวกายสีเขียว, มือซ้ายถือพิณ, มือขวาดีดพิณ พวกคนธรรพ์เป็นบริวาร

2.ท้าววิรุฬหกผู้เป็นใหญ่ด้านทิศใต้ รูปกายสีขาวรูปร่างสมส่วนงดงาม, มีหน้าแดง, มือซ้ายมีงูเลื้อยพันฝ่ามือจับคองูไว้, มือขวาถือพระขรรค์, มีมงกุฎประดับด้วยรูปนาค มีพวกอสูรเป็นบริวาร

3.ท้าววิรูปักษ์ ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันตก มีรูปกายสีขาวรูปร่างอ้วนใหญ่เหมือนกระพ้อมใส่ข้าว,ท้องป่องพุ่งใหญ่,คอก็สั้น,หัวโต,ฟันขาวเขี้ยวโง้งออกจากปาก,มีริมฝีปากนูนๆตาใหญ่มาก,ขาสั้น,กำยำลำสัน,มือซ้ายถือธนูทรงอาภรณ์สีแดงเลือด มีฝูงนาคเป็นบริวาร

4.ท้าวกุเวร ( ท้าวเวสสุวรรณ )ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ เป็นยักษ์3 ขา มีฟัน 8 ซี่ มี ๔ กรพระวรกายขาวกระจ่างสวมอาภรณ์งดงาม มีมงกุฎเป็นน้ำเต้าทรงอยู่บนพระเศียร, แต่มีรูปกายพิการร่างกายกำยำล่ำสันดูแข็งแรงรูปร่างสมส่วน, มือขวาถือกระบองยาว พวกยักษ์เป็นบริวาร
โดยมีท้าวเวสสุวรรณเป็นหัวหน้าหรือ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เรียกง่าย ๆ ว่า " นายผี " เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักขะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศโดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบมีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ (หัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4) เก่งกว่าท้าวมหาราชองค์อื่น
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพแห่งขุมทรัพย์ เป็นมหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูติผีปีศาจทั้งปวง
(ในคัมภีร์เทวภูมิ กล่าวไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจาก พระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย ) นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเธอมีมากมาย เช่น การดูแลปกป้องคุ้มครอง พระพุทธศาสนา , ปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นต้น ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร
*******************************************
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร(บูชาประจำวัน)
ตั้ง นะโม 3จบ
อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ
********************************************
คาถา โองการท้าวมหาราชทั้งสี่
ปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะวุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง วันทามะ โคตะมันติ
ป้องกัน ทั้งโรคภัย สัตว์ อสอรพิศ อสูร ภูผี มนุษย์
ของประเทศจีน
มหาจตุโลกบาล
ท้าวจตุโลกบาล คือ ท้าวจาตุมหาราช มีดังนี้ คือ
1. ท้าวธตรฐมหาราช ปกครองทางทิศบูรพา เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์
2. ท้าววิรุฬหกมหาราช ปกครองทางทิศทักษิณ เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์
3. ท้าววิรุฬปักข์มหาราช ปกครองทางทิศปัจฉิม เป็นเจ้าแห่งพวกนาค
4. ท้าวกุเวรมหาราช (เวสุวัณ) ปกครองทางทิศอุดร เป็นเจ้าแห่งพวกยักษ์

ท้าวจตุโลกบาลเหล่านี้ บ้างว่าสืบเนื่องมาจากในคราวกษัตริย์บู่อ๋อง แห่งราชวงศ์จิว ยก ทัพไปตีกษัตริย์ติ๋ว (ก่อน พ.ศ.591) ในระหว่างทาง ได้มีเทพเจ้า 4 พระองค์มาขออาสาช่วยรบ กษัตริย์บู่อ๋องได้กล่าวขอบใจและขอให้ช่วยปกปักษ์รักษาให้ “ฮวง” (ลม) “เที้ยว” (ถูกต้อง) “โหว” (ฝน) “สุง” (ราบรื่น) คือ ให้ดินฟ้าอากาศเป็นไปโดยราบรื่นตามฤดูกาล ให้ราษฎรเป็นอยู่โดยปกติสุขก็เพียงพอ ไม่ต้องช่วยออกรบ
ครั้น การยกทัพไปตีกษัตริย์ติ๋วเป็นผลสำเร็จ กษัตริย์บู่อ๋องจึงรับสั่งให้ตั้งศาลเจ้าบูชาเทพเจ้าทั้ง 4 พระองค์ และให้มีเครื่องหมายดังนี้ คือ

องค์หนึ่งถือดาบ หมายถึงลม เพราะเวลาฟันดาบจะเกิดเป็นเสียงลม
องค์หนึ่งถือพิณ เพราะการดีดพิณตามภาษาจีนออกเสียงว่า “เที้ยว”
องค์หนึ่งถือร่ม หมายถึง ฝน
และองค์หนึ่งถืองู เพราะคำว่างูทะเลออกเสียงว่า “สุง” แต่ต่อมาเนื่องจากงูไม่เป็นที่นิยมของสาธุชน จึงเปลี่ยนเป็นอุ้มเจดีย์แทน
ท้าวจาตุมหาราชทั้ง 4 นี้ มักสร้างเป็นรูปขนาดใหญ่โตเรียงไว้ในวิหารต้นของวัดข้างละสองตน ลัทธิธรรมเนียมปรากฏว่าพระพุทธเจ้าทรงมอบพระธรรมไว้แก่ท้าวมหาราชทั้ง 4 รักษา ชาวจีนจึงได้สร้างท้าวจาตุมหาราชขึ้น เรียกว่า “ฮูฮวบ” (ธรรมบาล) แปลว่า ผู้คุ้มครองรักษาพระศาสนา และนอกจากนี้ ยังทรงพิทักษ์รักษาประเทศชาติ และพุทธบริษัทอีกด้วย ถ้าประเทศชาติใดละเลยหรือหมิ่นแคลนพระธรรม พระองค์ก็จะเพิกถอนการพิทักษ์รักษานั้นเสีย หากมั่นอยู่ในพระธรรมก็จะอำนวยสุขสวัสดิ์

บริวาร ของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 มีหน้าที่คอยตรวจตราดูแลทุกข์สุขของมวลมนุษย์ และจัดการปราบปรามสัตว์ที่ทำบาปและไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
ท้าวธตรฐมหาราช ปกครองทิศบูรพา เป็นเจ้าแห่งคนธรรพ์
ท้าววิรุฬปักข์มหาราช ปกครองทางทิศปัจฉิม เป็นเจ้าแห่งนาค
ท้าววิรุฬหกมหาราช ปกครองทางทิศทักษิณ เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์
ท้าวกุเวรมหาราช (เวสุวัณ) ปกครองทางทิศอุดร เป็นเจ้าแห่งยักษ์

Monday 10 June 2013

อานิสงค์ผลบุญ15อย่าง อันแรงกล้า ให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า

 

1. ถือศีล 5 การถือศีล 5 เป็นประจำจะช่วยเสริมดวงชะตาและจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีงามการทำดีและไม่เบียดเบียนใครถือเป็นการทำบุญกุศลที่ได้อานิสงส์เป็นผลให้เกิดความโชคดี และแก้เคราะห์ลดกรรมได้

2.
การถือศีล 8จะช่วยเสริมดวงและแก้เคราะห์ได้เช่นเดียวกับการถือศีล 5 แต่การถือศีล 8 นั้นปฏิบัติได้ยากยิ่งแต่เมื่อปฏิบัติได้สำเร็จจะได้กุศลแรงนักปฏิบัติแล้วยังช่วยเสริมดวงอำนาจบารมีได้

3.
กินเจก็เพื่อลดละชีวิตสัตว์ ซึ่งได้อานิสงส์ผลบุญสูงและควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดถ้าอธิษฐานไว้ว่า 7 วัน ก็ทำให้ครบ 7 วัน อาจตั้งจิตว่าจะทำทุกวันพระและทุกเดือนหรือปฏิบัติทุกเดือน เดือนละ 3 วัน หรือ 7 วัน เป็นต้น

4.
ไหว้พระและถวายดอกไม้ธูปเทียนรวมทั้งการปิดทองคำเปลวและเครื่องหอมผลบุญนี้จะทำให้ชีวิตรุ่งเรือง มีความเจริญก้าวหน้า

5.
ถวายน้ำมันตะเกียงเพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง>>
> >
6.
ถวายสังฆทานเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ไม่ขัดสน

7.
ไหว้พระไหว้บูชาเทพต่างๆ จะทำให้พบกับความสุข ความเจริญเกิดความสุขใจว่ามีที่พึ่งพิงยึดเหนี่ยวนำมาซึ่งกำลังใจในการต่อสู้ชีวิตต่อไปและรู้สึกเสมอว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยคุ้มครองเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

8.
ทำบุญปล่อยสัตว์เป็นการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น แต่ถือว่าได้บุญแรง จะต้องทำด้วยความตั้งใจจริงเช่น การไปซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่าไปปล่อยไถ่ชีวิตวัวควายถวายวัดเพื่อมอบให้ชาวนานำไปใช้ประโยชน์ซื้อปลาในตลาดที่จะถูกฆ่าไปปล่อยน้ำ ผลบุญนี้ยังผลให้หมดทุกข์ หมดภัยและพบความสุขความเจริญในชีวิต

9.
ทำบุญ ให้ทานเป็นการรู้จักเสียสละตนเองและแบ่งปันให้ผู้อื่นซึ่งผลบุญจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีจิตใจยินดีในการทำบุญให้ทานด้วยไม่ว่าจะเป็นการบำรุงพุทธศาสนา หรือการให้ทานเกื้อกูลคนยากไร้ล้วนแล้วแต่เป็นบุญส่งเสริมให้ชีวิตมีโชค มีทรัพย์ และมากด้วยบารมี

10.
ทำทานแก่คนยากไร้เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดติดมีความไม่โลภผลบุญจึงหนุนนำให้มีแต่ความราบรื่น ยามมีเรื่องติดขัดก็จะมีผู้มาช่วยเหลือค้ำจุนยามมีเคราะห์ภัยก็จะแคล้วคลาดเพราะแรงอนุโมทนาจิตจากผู้ยากไร้ที่ได้รับสิ่งของจากเรานั่นเอง

11.
ทำบุญโลงศพซื้อโลงศพบริจาคศพอนาถาไร้ญาติ จะได้อานิสงส์แรงยิ่งนักการทำบุญเช่นนี้จะช่วยเสริมดวงชะตาให้แข็งแกร่ง สามารถต้านเคราะห์ภัยหนักต่างๆและผ่อนหนักเป็นเบาได้

12.
พิมพ์หนังสือธรรมะแจกจัดพิมพ์เองหรือร่วมบริจาคสมทบทุนการพิมพ์กับผู้อื่นก็ได้เป็นการเสริมดวงให้มีวาสนาบารมี เพื่อให้ปัญญาสว่าง หมดทุกข์ หมดโศกไม่มีเคราะห์ร้ายมากล้ำกราย

13.
บริจาคค่าน้ำ ค่าไฟจะช่วยให้ชีวิตราบรื่น หมดทุกข์ หมดโศก ประสบแต่ความโชคดี

14.
ซื้อข้าวสารถวายวัดเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้าตามสถานสงเคราะห์เป็นการสั่งสมบุญกุศล เพื่อให้ชีวิตมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยบารมี

15.
การตักบาตรร่วมขันกับผู้อื่นหรือทำบุญร่วมกับผู้อื่นไม่ว่าจะทำบุญด้วยการบริจาคทรัพย์หรือโดยทางอื่น จะส่งผลให้เนื้อคู่ดูดีดวงชะตาแข็งแกร่ง เกื้อกูลซึ่งกันและกันและจะได้แต่เพื่อนที่ดีในชาตินี้

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=406130